คุยกับหมออัจจิมา: ไทรอยด์ (Thyroid) โรคฮิตของดารา

Thyroid

ไทรอยด์ โรคฮิตของดารา


หากพูดถึงโรคไทรอยด์ หลายคนน่าจะคุ้นหู ในปัจจุบันมีผู้ป่วยจำนวนมาก ที่ไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคไทรอยด์ จึงไม่ได้รักษาอย่างทันท่วงที และยังเป็นโรคฮิตของเหล่าดารา หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมผู้ป่วยไทรอยด์บางรายมีรูปร่างอ้วน บางรายก็มีรูปร่างที่ผอม แท้จริงแล้วไทรอยด์ส่งผลอย่างไรกับร่างกายกันแน่ ต่อมไทรอยด์เป็นอย่างไร อยู่ส่วนไหนของร่างกาย รวมไปถึงอาการแบบไหน ที่บ่งบอกว่ากำลังอยู่ในภาวะเสี่ยงเป็นโรคไทรอยด์ เพื่อจะได้รีบทำการรักษา

Thyroid

ไทรอยด์ (Thyroid) คืออะไร


ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) เป็นต่อมไร้ท่อที่มีลักษณะเหมือนรูปผีเสื้อ อยู่ส่วนล่างของกลางลำคอ เป็นอวัยวะหนึ่งที่ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งฮอร์โมนที่ถูกผลิตจากต่อมไทรอยด์ มีอยู่ 3 ตัวคือ

  1. Triiodothyronine (T3) เป็นฮอร์โมนที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน (Metabolism) ของเซลล์ทุกชนิด การเจริญเติบโตของกระดูกการเจริญเติบโตของเซลล์สมอง การทำงานของหัวใจ การทำงานของกล้ามเนื้อ และการทำงานของระบบทางเดินอาหาร
  2. Thyroxine (T4) เป็นฮอร์โมนที่มีหน้าที่กระตุ้นอัตราเมตาบอลิซึมของเซลล์และเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ทำหน้าที่รวมกับโกรทฮอร์โมนในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกาย โดยกระตุ้นการสังเคราะห์โปรตีนนอกจากนั้นยังควบคุมพัฒนาการของเซลล์ต่าง ๆ โดยเฉพาะพัฒนาการของเซลล์สมอง
  3. Calcitonin เป็นฮอร์โมนที่มีหน้าที่ควบคุมการเผาผลาญแคลเซียมฟอสฟอรัส – แคลเซียมความสมดุลของเซลล์ของเนื้อเยื่อกระดูก

ฮอร์โมนไทรอยด์ มีบทบาทกับชีวิตเราอย่างไร


ฮอร์โมนไทรอยด์ เป็นฮอร์โมนที่สำคัญมากต่อร่างกาย เพราะเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับ Metabolism หรือการเผาผลาญของร่างกาย  การเผาผลาญอาหาร การเผาผลาญออกซิเจน (oxygen) ซึ่งเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ จะส่งผลให้มีรูปร่างอ้วน หรือไม่ก็ผอม

  • หากต่อมไทรอยด์มีการผลิตฮอร์โมนที่สูงจนเกินไป (hyperthyroidism) ร่างกายเผาผลาญเยอะมากขึ้น มีอาการเหงื่อออกมาก ใจสั่นสูญเสียของมวลของไขมัน จะทำให้ผู้ป่วยนั้นมีรูปร่างผอม
  • หากต่อมไทรอยด์มีการผลิตฮอร์โมนน้อยเกินไป (hypothyroidism) ทำให้ร่างกายมีการเผาผลาญได้น้อยลง โดยภาวะดังกล่าวจะส่งผลต่อระดับความสมดุลของปฏิกิริยาเคมีภายในร่างกาย มีการสะสมของไขมันมาก จึงทำให้ผู้ป่วยนั่นมีรูปร่างอ้วน

Thyroid

จะเกิดอะไรขึ้นหาไทรอยด์ทำงานผิดปรกติ


หากร่างกายมีความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ จะส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงในร่างกายได้หลายระบบ ทั้งในส่วนระบบเผาผลาญของร่างกาย และระบบประสาท ส่งผลให้ผู้ป่วยนั้นมีอาการ คิดช้า พูดช้า ความจำไม่ดี ในบางรายอาจมีอาการปวดตามกล้ามเนื้อ  ผู้ป่วยที่ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติมาก ๆ จะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด มีอาการตาโปน หลับตาไม่สนิท หรือมีอาการบวมของเยื่อบุในลูกตา จนไปถึงอาการต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ซึ่งจะส่งผลให้การทำงานของตับและไตผิดปกติ มีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง และยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานอีกด้วย


ลักษณะอาการของโรคไทรอยด์


ผู้ป่วยที่เป็นโรคไทรอยด์ มีปัญหาได้หลายรูปแบบ เช่น มีความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ ทำให้เกิดอาการบวมโต หรือเป็นเนื้องอก ที่เป็นมะเร็งไทรอยด์ หรือโรคคอพอก อีกกลุ่มหนึ่งคือโรคภูมิเพี้ยนไทรอยด์ มีผลทำให้เกิดการอักเสบของไทรอยด์ ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ เกิดอาการที่ร่างกายต่อต้านเซลล์ของตัวเอง ทำให้เป็นโรคเบาหวาน โรคเกล็ดเลือดต่ำ โรครูมาตอยด์ (โรคไขข้ออักเสบ), หรือโรคด่างขาว

การใช้ชีวิตประจำวันของเรานั้น มีส่วนทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ซึ่งเกิดจากสารพิษที่ได้รับในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร จากอากาศ ความเครียด ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือกลุ่มคนไข้ที่มีปัญหาในเรื่องของพันธุกรรม หากเริ่มมีอาการอ่อนเพลีย น้ำหนักเพิ่ม หรือลดลงอย่างรวดเร็ว ก็สามารถเข้ารับการตรวจได้


Thyroid

วิธีการตรวจโรคไทรอยด์


  1. การตรวจเลือด (Blood Test) ซึ่งจะเน้นไปที่การตรวจเพื่อเช็กการทำงานของต่อมไทรอยด์และการเผาผลาญ เช่น ตรวจวัดปริมาณฮอร์โมนไทรอยด์, ตรวจวัดการทำงานของต่อมใต้สมอง และตรวจวัดระดับปริมาณแอนติบอดีของต่อมไทรอยด์
  2. ตรวจสมดุลการทำงานระดับเซลล์แบบทั่วร่างกาย (Total Bio Scan) การตรวจคัดกรองการทำงานของเซลล์แต่ละอวัยวะในเบื้องต้นอย่างละเอียดช่วยค้นความผิดปกติและความเสื่อมที่ซ่อนเร้นและในร่างกาย
  3. การตรวจสแกน (X-ray) ใช้ตรวจหาความผิดปกติของต่อมไทรอยด์อาจมีเนื้องอกหรือมะเร็งปน และการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองจะใช้ในกรณีที่แพทย์สงสัยว่าโรคไทรอยด์เป็นพิษ อาจเกิดจากต่อมใต้สมองหลั่งฮอร์โมนผิดปกติ
  4. การตรวจกัมมันตรังสี เป็นการตรวจโดยใช้รังสีเพื่อให้เห็นการทำงานของต่อมไทรอยด์ ซึ่งจะช่วยให้เห็นว่าต่อมไทรอยด์มีการทำงานที่มากกว่าปกติหรือไม่

ไทรอยด์

คำแนะนำจากหมอพร้อมวิธีป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาไทรอยด์


มีการผิดปกติของต่อมไทรอยด์ แพทย์ก็จะมีแนวทางในการรักษาหลากหลายแบบ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของผู้ป่วย เช่น การให้ไทรอยด์สังเคราะห์ การให้ฮอร์โมน การใช้รังสีทำลายเนื้องอก การทานไอโอดีน หรือการกลืนแร่ ทั้งนี้ต้องอยู่ในการดูแล และดุลยพินิจของแพทย์

สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การป้องกันไม่ให้เกิดโรคของไทรอยด์ การดูแลให้ร่างกายทำงานได้ดี จะต้องทำให้ร่างกายอยู่ในภาวะสมดุล เช่น การออกกำลังกาย การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูการทำงานของเซลล์ ทำให้ร่างกายมีระบบไหลเวียนที่ดี ลดการอักเสบของร่างกายด้วยการควบคุมอาหาร รักษาภูมิต้านทานให้แข็งแรง จะช่วยลดภาวะการเปิดปัญหาภาวะภูมิเพี้ยนไทรอยด์ได้




สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้