Exosome Skin Booster นวัตกรรมฟื้นฟูเซลล์ผิว เพื่อผิวที่ดูอ่อนเยาว์

Exosome

Exosome คืออะไร?


         หากจะให้คำนิยามโดยตรง Exosome (เอ็กโซโซม) คือ ถุงน้ำนอกเซลล์ขนาดนาโน (EV) ที่มีขนาด 30-150 นาโนเมต สามารถพบได้ในของเหลวทั้งหมดในร่างกาย รวมทั้งพลาสมา เซรุ่ม น้ำลาย น้ำไขสันหลัง ปัสสาวะ และสื่อเพาะเลี้ยงเซลล์ Exosome ประกอบด้วยสารชีวโมเลกุลต่างๆ ของเซลล์ต้นกำเนิดของมัน รวมถึงกรดนิวคลีอิก โปรตีน ลิปิด และเมแทบอไลต์ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสื่อสารระหว่างเซลล์กับเซลล์อีกด้วย

         Exosome Skin Booster เป็นโมเลกุลอนุภาคนาโนขนาดเล็ก จึงทำให้เซลล์สามารถเข้าซ่อมแซม และฟื้นฟูเซลล์บริเวณที่เสื่อมสภาพได้ลึกถึงระดับการแสดงออกของยีน (Epigenetic) รวมทั้งยังช่วยต้านและยับยั้งกลไกการอักเสบ ภาวะเครียดของเซลล์ และยังช่วยชะลอความเสื่อมต่างๆ ได้ดีอีกด้วย


Exosome

หลักการทำงานของเอ็กโซโซม (Exosome)


หลักการทำงานของเอ็กโซโซม (Exosome) เป็นการใช้สารชีวโมเลกุลต่าง ๆ เข้าไปในเซลล์โดยตรง โดยใช้ถุงนี้เป็นตัวกลาง โดยเซลล์จะใช้สารในถุงนี้เป็นเหมือนกับข้อความในจดหมาย ซึ่งถูกบรรจุแล้วส่งออกไปบอกเซลล์อื่นๆให้รับรู้ โดยจะเคลื่อนที่ไปมาระหว่าง เซลล์ผิวหนังที่เกี่ยวข้องกับการหมุนเวียน ทำให้เกิดการเผาผลาญของผิวหนัง เกิดการสร้างไฟโบรบลาสต์ที่ผลิตคอลลาเจนและอีลาสติน และมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ป้องกันการสร้างเซลล์ผิวหนังและการเสื่อมสภาพของเซลล์ มีผลในการช่วยส่งส่วนประกอบของยาที่เกี่ยวข้องกับโรคไปยังเซลล์ เพื่อช่วยในการฟื้นฟูและซ่อมแซมการทำงานของเนื้อเยื่อเช่นส่งเสริมการเพิ่มจำนวนเซลล์และการรักษาบาดแผลได้นั่นเอง

Exosomeการทำงานของ Exosome

ประโยชน์ของ Exosome?


        Exosome Skin Booster เป็นโมเลกุลอนุภาคนาโนขนาดเล็ก จึงทำให้เซลล์สามารถเข้าซ่อมแซม และฟื้นฟูเซลล์บริเวณที่เสื่อมสภาพได้ลึกถึงระดับการแสดงออกของยีน (Epigenetic) รวมทั้งยังช่วยต้านและยับยั้งกลไกการอักเสบ ภาวะเครียดของเซลล์ และยังช่วยชะลอความเสื่อมต่างๆ นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยต่างๆ ดังต่อไปนี้

  1. การสมานแผล (Wound Healing)
  2. ฟื้นฟูผิวจากภาวะไม่สมดุลของการเกิดสารอนุมูลอิสระ และภาวะความแก่จากแสงแดด (Oxidative Stress)
  3. รักษาภาวะผมร่วง (Hair Growth)
  4. ป้องกันภาวะสเต็มเซลล์ใหม่ต้านร่างกายผู้ป่วย (GVHD) (Graft Versus Host Disease)
  5. ป้องกันการเกิดผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis)
  6. ยับยั้งการเกิดโรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  7. ช่วยเรื่องเม็ดสีผิวที่ผิดปกติ

1. Exosome กับการสมานแผล


        Exosome ช่วยส่งเสริมการสร้างเส้นเลือดใหม่ การเคลื่อนย้ายเซลล์ (cell migration) การเพิ่มจำนวนของเซลล์ (proliferation) และกระบวนการสร้างเยื่อบุผิวใหม่ (re-epithelialization ซึ่งช่วยลดการเกิดแผลเป็นได้ ในช่วงแรกของการสมานแผลจะเพิ่มการสร้างคอลลาเจน ในช่วงท้ายของการสมานแผลจะยับยั้งการสร้างคอลลาเจน และลดการสะสมของ ไมโอ-ไฟโบรบลาสต์ ซึ่งมีความสามารถในการหดตัว ทำให้ลดโอกาศการเกิดแผลเป็น

         การสมานแผลนั้นเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนทั้งการฟื้นฟูโครงสร้างและการทำงานของเนื้อเยื่อ เกี่ยวข้องกับการทำงานของหลายๆอย่าง ทั้งการรักษาสมดุล (homeostasis) การอักเสบ การเคลื่อนย้ายและการสร้างเซลล์ การสร้างเส้นเลือด และการจัดเรียงเนื้อเยื้อที่สร้างขึ้นใหม่ ซึ่งถูกควบคุมสารชีวโมเลกุลหลาย ๆ อย่าง ที่เข้าสู่ผิว

2. Exosome ฟื้นฟูผิวจากภาวะไม่สมดุลของการเกิดสารอนุมูลอิสระ และภาวะความแก่จากแสงแดด


         จากการศึกษาพบว่าการใช้ exosome จากเซลล์ต้นกำเนิดสามารถช่วยฟื้นฟูผิวได้โดยการป้องกันการเกิดภาวะไม่สมดุลของการเกิดสารอนุมูลอิสระ (oxidative stress) และภาวะความแก่จากแสงแดด และยังช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนได้

         Oxidative stress จากรังสี UV เป็นปัญหาหลักที่ทำให้ผิวเกิดปัญหาได้ ทำให้ชั้นไขมัน โปรตีน และ DNA ในผิวหนัง ทำให้มีการสร้าง ROS มากขึ้น และยังลดการทำงานของสารต้านอนุมูลอิสระ ส่งผลให้ผิวไหม้แดด แก่ก่อนวัย และมะเร็งได้

3. รักษาภาวะผมร่วง


         ผมร่วงเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย และส่งผลที่ไม่ดีกับคนที่เป็น ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ผมร่วงนั้นมีหลายอย่าง เช่น ฮอร์โมนเปลี่ยน การขาดสารอาหาร และการใช้ยาบางชนิด เป็นต้น การรักษาผมร่วงในปัจจุบันใช้ finasteride และ minoxidil เป็นหลัก แต่พบว่าการรักษานี้ได้ผลเพียงแค่ระยะสั้น และหากหยุดรักษาจะทำให้ผมร่วงอย่างรวดเร็ว

         วงจรชีวิตของผมเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน มี3ระยะ คือ ระยะเติบโต (anagen) ระยะหยุด (catagen) และระยะพัก (telogen) เส้นผมจะงอกออกมาจากเซลล์แรกเริ่มที่เรียกว่า dermal papilla (DP) ซึ่งจะอยู่ที่รากผม และมีบทบาทสำคัญกับวงจรชีวิตผม จากการศึกษาพบว่า exosome ช่วยส่งเสริมการสร้างของ DP และการเติบโตของผม ทำให้ผมกลับมาดกดำงอกงามอีกด้วย

4. ป้องกันภาวะสเต็มเซลล์ใหม่ต้านร่างกายผู้ป่วย (GVHD)


         GVHD เกิดจากเซลล์ของผู้บริจาคไปจู่โจม/โจมตีเซลล์ผู้รับบริจาค ซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่มักเกิดในผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ในระยะเฉียบพลันจะก่อให้เกิดผื่นขึ้น ระยะยาวจะส่งผลต่อเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆได้

         การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด ทำให้เกิด GVHD ได้ โดยในระยะยาวจะส่งผลให้เกิดความเจ็บป่วยอื่นๆตามมา และหากรุนแรงก็สามารถทำให้เสียชีวิตได้

         Exosome สามารถป้องกันการเกิด GVHD ในระยะยาวได้ โดยจะควบคุมการทำงานของ T17/Treg ซึ่งเป็นตัวสำคัญที่ทำให้เกิดการอักเสบขึ้น นอกจากนั้นแล้ว exosome ยังช่วยส่งเสริมการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อและทำให้อยู่ในภาวะสมดุล (homeostasis)

         Exosome ถูกหลั่งจากทั้งเซลล์ภูมิคุ้มกัน และที่ไม่ใช่เซลล์ภูมิคุ้มกัน ซ่งสามารถกระตุ้นและยับยั้งระบบภูมิคุ้มกันได้ ผลของ exosome ต่อระบบภูมิคุ้มกันคือ กระตุ้นการทำงานของ T-cell, กดระบบภูมิคุ้มกัน, ต่อต้านการอักเสบ

5. ป้องกันการเกิดผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง


          การตอบสนองต่อการอักเสบเรื้อรังที่ไม่สามารถควบคุมได้ มีความสัมพันธ์กับโรคอักเสบต่างๆ รวมถึงโรคภูมิแพ้ผิวหนัง เช่น ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis) ซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน exosome จึงเป็นตัวสำคัญที่ช่วยควบคุมการอักเสบและการรักษาโรคภูมิแพ้

          โรค AD เป็นโรคผิวหนังเรื้อรัง ที่มีผื่นจุดแดงๆ ตามร่างกาย และเกิดการอักเสบไปทั่วร่างกาย AD นั้นสัมพันธ์กับพันธุกรรม ระบบภูมิคุ้มกัน และปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม และในไม่กี่ปีที่ผ่านมายังพบคนเป็นเพิ่มมากขึ้น

         ระดับไซโตไคน์ T2 ที่เพิ่มมากขึ้นมีความสัมพันธ์กับการตอบสนองที่ผิดปกติต่อระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งทำให้เกิด AD ได้ง่ายขึ้น การแสดงออกของยีนส์ที่ทำหน้าที่ป้องกันผิวหนังชั้นนอกที่ผิดปกติก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิด AD เช่นกัน

         กลไกการเกิด AD มีหลายอย่าง เช่น ผิวหนังด้านนอกที่ทำหน้าที่ป้องกัน (skin barrier) มีการเปลี่ยนไป ทำให้ผิวเกิดการอักเสบมาก เชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมจึงสามารถผ่านเข้ามาภายในได้, ระบบภูมิคุ้มกันมีการส่งสัญญาณผิดปกติไปที่ชั้นหนังกำพร้า ทำให้ ceramides, filaggrin และ antimicrobial peptides ลดลง

         Exosome สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ skin barrier ได้โดยการเพิ่ม ceramides และลดการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกันในช่วงที่โรคกำเริบ โดย exosome กระตุ้นการสร้าง ceramides ที่ผิวชั้นนอก และช่วยสร้างแนวป้องกันไม่ให้สิ่งแปลกปลอมซึมผ่านสู่ด้านใน

6. ยับยั้งการเกิดโรคสะเก็ดเงิน


         สะเก็ด (Psoriasis) เงินเป็นหนึ่งในโรคผิวหนังที่สามารถพบได้ทั่วไป เป็นโรคผิวหนังเรื้อรังสามารถพบได้ตามส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น ข้อศอก เข่า เล็บ หรือหนังศีรษะ เกิดจากการที่เซลล์ผิวหนังชั้นนอกหนามีการเพิ่มจำนวนมากขึ้น เพิ่มการสร้างเส้นเลือดใหม่ และระบบภูมิคุ้มกันมีปัญหา ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคนี้คือระบบภูมิคุ้มกันและพันธุกรรม การรักษามีหลากหลายโดยมีจุดมุ่งหมายคือลดอาการที่ผิวหนัง มีการนำ exosome มาใช้รักษาโรคสะเก็ดเงินแล้วพบว่าโรคไม่กำเริบนานถึง 4-5 ปี

         จากที่กล่าวมาพบว่าเอ็กโซโซมมีส่วนช่วยในการลดการอักเสบที่ผิดปกติ เหมือนการรักษา AD และ GVHD จากหลายๆการศึกษาทำให้พบว่า Exosome Skin Booster สามารถยับยั้งภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติได้ โดยควบคุมการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกัน ยับยั้งการทำงานของไซโตไคน์ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ

         จากการศึกษาของ Zhang Y. และคณะในปี2020 พบว่า exosome สามารถป้องกันการดำเนินของโรค และยับยั้งความรุนแรงของโรคสะเก็ดเงินได้โดยการควบคุมการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกัน ยับยั้งการทำงานของไซโตไคน์ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ ลดอาการและการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน

7. Exosome กับอาการผิดปกติทางเม็ดสี


          ในงานวิจัยพบว่า Tumor necrosis factor-related apoptosis-inducing ligand (TRAIL) เป็นส่วนหนึ่งของ TNF ซึ่งเกี่ยวข้องกับการรักษามะเร็ง โดย TRAIL สามารถกระตุ้นเซลล์ให้เกิดการตายได้โดยสื่อสารกับตัวรับได้ (ตัวรับ4; DR4 และตัวรับ5; DR5 ของเซลล์มะเร็ง)

          การรักษาด้วย Exosome Skin Booster ที่ได้จาก TRAIL สามารถกระตุ้นให้เกิดการตายของเซลล์มะเร็งได้ ทั้งมะเร็งปอด หลอดลม ไต เต้านม และมะเร็งของเนื้อเยื่อประสาท (Neuroblastoma) โดยมีประสิทธิภาพมากกว่าเมื่อเทียบกับ TRAIL อย่างเดียว

 

Exosome

ข้อดีของ Exosome


  • เป็นการรักษาที่ไม่ต้องผ่าตัด หรือการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ ร่วมกัน
  • ไม่มีผลข้างเคียงที่รุนแรง
  • ไม่ต้องพักฟื้น
  • เห็นผลการรักษาได้ค่อนข้างเร็ว เพียงแค่การรักษาใน 1-3 ครั้ง หรือขึ้นกับแพทย์ประเมิน
  • สามารถทำพร้อมกับการรักษาเส้นผมด้วยวิธีการเดิมที่มีอยู่ได้

เหมาะสมกับใคร


  1. ผู้ที่ต้องการทำให้ผิวดูอ่อนวัยกว่าเดิม ช่วยเรื่องคอลลาเจนที่ผิว
  2. ผู้ป่วยที่มีอาการแพ้ และอาการอักเสบบนผิวหนัง
  3. ช่วยเรื่องเม็ดสี
  4. ช่วยสร้างเซลล์ผิวใหม่
  5. ซ่อมแซม และฟื้นฟูเซลล์ที่เสื่อมสภาพ
  6. รักษาแผลเป็น หลุมสิว
  7. สร้างเยื้อบุผิวขึ้นใหม่
  8. ช่วยสมานแผล
  9. ลดการเกิดแผลเป็นได้
  10. ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน
  11. ผู้ที่มีอาการผมบางจากสาเหตุต่างๆ เช่น กรรมพันธุ์, ปัญหาทางด้านสุขภาพ, ความเครียด, การใช้สารเคมีในการย้อมผม เป็นต้น


 
Exosome คืออะไร? : หมอชวนคุย :【คุยกับหมออัจจิมา】

(รายละเอียดโปรโมชั่นราคาพิเศษ หรือ สอบถามเจ้าหน้าที่เพื่อรับข้อเสนอพิเศษ)


Exosome


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

Maria I. Quinones-Vico et. Al. The Role of Exosomes Derived From Mesenchymal Stromal Cells in Dermatology. Frontiers in Cell and development Biology, 2021.

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้