หากคิ้วคือมงกุฎของใบหน้า ผิวหนังก็เปรียบเสมือนราชินีของร่างกายที่ต้องดูแลอย่างทะนุถนอม จะทำเช่นไรจึงจะได้ผิวกระชับได้รูปทรงดั่งวาดไว้ในความคิด เพียงการใช้ครีมแต้มทาและบีบนวดก็คงไม่เพียงพอจะให้หน้าสวยเข้ารูป หรือลองนึกภาพการรักษาผ่านการฉีดหรือผ่าตัดก็เป็นเรื่องน่ากลัวสำหรับบางคน บางทีเทคโนโลยีคลื่นวิทยุชื่อคุ้นหูคนมาหลายรุ่นอย่าง เทอร์มาจ (Thermage) อาจเป็นกุญแจหนี่งที่พร้อมไขปัญหาความงามสู่การเป็นเจ้าของใบหน้าเรียวกระชับกัน
ทว่าครั้งนี้เราไม่ได้พาผู้อ่านเพียงรู้จักว่า เทอร์มาจ คืออะไร ทว่าเราจะเน้นเจาะลึกถึงตัวเทคโนโลยีที่มีนามว่า Thermage FLX กันว่าดีกว่ารุ่นที่ผ่านมาในด้านใด เหมาะกับใคร รวมถึงข้อเปรียบเทียบด้านประสิทธิภาพกับเทคโนโลยีตัวอื่นว่ามีจุดเด่นด้านใดที่สามารถ Mix & Match การรักษาให้ได้ผลลัพธ์ที่สมบูรณ์ที่สุดอย่างไรบ้าง
Thermage® คือเทคโนโลยีคลื่นความถี่วิทยุชนิดขั้วเดี่ยว (Monopolar RF) ที่ได้รับการยอมรับจาก US-FDA ประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี 2002 โดยสามารถปล่อยพลังงานความร้อนจากหัว (Tip) สู่ชั้นผิวหนังแท้ (Dermis) และชั้นไขมันใต้ผิวหนัง (Subcutaneous Fat) จนเกิดการจัดเรียงโครงสร้างของคอลลาเจนและอีลาสตินที่เสื่อมสภาพให้กลับกระชับเรียบเนียนเข้ารูปได้สัดส่วน ไร้บาดแผลและคงสภาพผลลัพธ์ได้นานราว 1 – 2 ปีตามแต่สภาพผิวของบุคคล
Thermage จัดเป็นเทคโนโลยีความงามที่อยู่คู่โลกมายาวนานกว่า 2 ทศวรรษ จึงไม่แปลกที่ Solta Medical ยักษ์ใหญ่ด้านการคิดค้นเครื่องมือแพทย์และเวชสำอางชั้นนำระดับโลกจะพัฒนาเครื่องเทอร์มาจให้เอื้อความสะดวกและตอบโจทย์ผู้เข้ารับการรักษา ซึ่งมีทั้งหมด 4 รุ่น ได้แก่ Thermage TC (2003), Thermage NXT (2007), Thermage CPT (2009) และ Thermage FLX (2017) โดยรุ่นล่าสุดที่เหล่าแพทย์นิยมใช้คือ CPT และ FLX
CPT (Comfort Pulse Technology) เป็นเทอร์มาจรุ่นที่ 3 เมื่อปี 2009 ซึ่งได้รับการปรับปรุงให้มีระบบสั่น (Vibration) ระบบให้ความเย็น (Cooling System) และการยิงคลื่นวิทยุความถี่สูงที่มีประสิทธิภาพผ่านหัว (Tip) หลากสีสำหรับใช้รักษาทั้งส่วนกรอบดวงตา ใบหน้า และลำตัวตามจำนวนช็อตที่ต่างกัน
อย่างไรก็ตาม Thermage CPT มีข้อจำกัดที่ไม่มีการคำนวณระดับความร้อนใต้ผิว ณ ปัจจุบันก่อนยิง จึงต้องได้รับการรักษา ควบคุมหรืออยู่ภายใต้การดูแลจากแพทย์ผิวหนังชำนาญการคอยปรับระดับอุณหภูมิและปัจจัยร่วมอื่นให้เหมาะสมแก่สภาพผิวของบุคคลนั้น
FLX (Faster Algorithm Experience) เป็นเทอร์มาจรุ่นล่าสุดเมื่อปี 2017 ซึ่งได้รับการพัฒนาให้สามารถรักษาปัญหาริ้วรอยผิวหย่อนคล้อยได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นผ่านหลัก FLX 3 ประการ ซึ่งประกอบด้วย
เครื่อง Thermage FLX จะปล่อยคลื่นวิทยุความถี่สูงชนิดขั้วเดี่ยว (Monopolar High Radiofrequency : RF) ระดับ 6.78 เมกะเฮิร์ต (MHz) สู่ชั้นผิวแท้ลึกถึง 4.3 มิลลิเมตรจนเกิดความร้อนพอกระตุ้นให้โครงสร้างคอลลาเจนและอีลาสตินจัดเรียงตัวใหม่เป็นระเบียบ ควบคู่กับการให้ความเย็นแก่ผิวชั้นนอกผ่านตัว Thermage Cool และ Comfort Pulse Technology (CPT) ซึ่งปล่อยคลื่นเทนส์ (TENS: Transcutaneous Electrical Nerve Stimulation) คอยรักษาสมดุลผิวและให้ความสุขสบายแก่ผู้เข้ารับการรักษาตลอดระยะเวลาการทำเทอร์มาจ
ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้เทอร์มาจเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีซึ่งช่วยคืนสภาพเส้นใยคอลลาเจนและอีลาสตินจากชั้นหนังแท้และเนื้อเยื่อไขมันใต้ผิวให้เฟิร์มกระชับ เรียบตึงราวไร้รอยโดยไม่ได้ทำลายชั้นผิวนอก
Thermage ทั้งสองรุ่นยังมีหัวอุปกรณ์ (Tip) ให้เลือกใช้หลากสีตามความสามารถ ดังต่อไปนี้
ภาพหัว Tip ของ Thermage FLX
สีเขียวหน้าตัดขนาด 0.25 ตารางเซนติเมตร (TT0.25F6-XXX) พร้อมปล่อยคลื่นความถี่วิทยุพลังงานสูง สู่ชั้นผิวรอบเปลือกตาลึก 1.1 มิลลิเมตร (มม.) จึงตอบโจทย์ผู้มีปัญหาริ้วรอยตรงขอบตาต่อคู่ผิวขอบตา โดยใช้จำนวนการยิงที่ 450 Shot ในระยะเวลาราว 20 – 45 นาทีหรือตามการประเมินของแพทย์
จัดเป็นประเภทหัวที่มีประสิทธิภาพการปล่อยคลื่นความถี่วิทยุลงสู่ชั้นผิวได้ลึกถึง 4.3 มม. ซึ่งตอบโจทย์ผู้มีปัญหาผิวในระดับมาก อย่างไรก็ตาม ทั้งรุ่น CPT และ FLX ต่างใช้ Total Tip ซึ่งมีสี ขนาด และจำนวนการปล่อยช็อตที่แตกต่างกัน ดังนี้
สีส้มขนาด 16. ตร.ซม. (TT16.00F6-XXX) โดยใช้ความยาวคลื่นความถี่เท่ากันในจำนวนตั้งแต่ 300 – 500 Shot หรือมากกว่านั้นตามแต่บริเวณที่ใช้รักษาและดุลยพินิจของแพทย์ ด้วยขนาดหัวอุปกรณ์ที่ใหญ่ จึงเหมาะกับใช้ลดความหย่อนคล้อยทั่วเรือนร่าง เช่น สะโพก ลำตัว ต้นขา ท้องแขน เป็นต้น
แม้ Thermage FLX จะมีประสิทธิภาพรักษาริ้วรอยร่องลึกให้เรือนจางได้เหมือน Ultherapy SPT และ Ultraformer MPT ทว่าก็ยังมีข้อจำกัดและรายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างกัน และเพื่อให้เห็นความแตกต่าง Medisci จึงนำเทคโนโลยีทั้ง 3 ชนิดมาเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น ดังนี้
เทคโนโลยีทั้งสามต่างสามารถส่งพลังงานลงสู่ผิวในระดับชั้นความลึกที่ต่างกัน ตัวอัลเทอราพีและอัลตราฟอร์มเมอร์สามารถส่งพลังงานได้ลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อส่วนพยุงใบหน้าอย่าง SMAS (Superficial Musculo Aponeurotic System) ซึ่งส่งผลให้หน้ายกกระชับ เก็บงานกรอบหน้าให้เด่นชัด แตกต่างจากเทอร์มาจที่ส่งพลังงานได้ลึกถึงเพียงชั้นไขมัน (Subcutaneous Tissue)
แม้ว่า Ultraformer MPT จะรวมความสามารถในการลดไขมันบนหน้า แก้เซลลูไลท์ (Cellulite) และการยกใบหน้าได้เหมือนกับอัลเทอราพีจนขึ้นชื่อว่าเป็น Non-Surgical Facelift ไว้ในหนึ่งเดียว ทว่าระยะคงสภาพผลลัพธ์กลับสั้นกว่าเมื่อเทียบกับเทคโนโลยีอีกสองตัวที่เหลือ และเพื่อผลลัพธ์ที่ทรงประสิทธิภาพที่สุด การทำ Thermage FLX ควบคู่กับ Ultherapy SPT, Ultraformer MPT และหัตถการฉีดตัวอื่นร่วมด้วยจะช่วยเก็บงานบนใบหน้าให้งามได้หลากมิติ อย่างไรก็ตาม ควรเว้นระยะก่อนทำตามคำแนะนำของแพทย์ผิวหนัง
Thermage FLX เหมาะสำหรับผู้ที่มีใบหน้าหย่อนคล้อยจากการสะสมของไขมัน และต้องการกระชับผิวให้เข้ารูป และเรียบเนียน ซึ่งสามารถ
นอกจากเทอร์มาจจะไม่เหมาะกับผู้ใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า เช่น Pacemaker, ICD (Implantable Cardioverter Defibrillator) ยังมีอีกหลายกลุ่มที่เทอร์มาจไม่เหมาะตอบโจทย์การรักษาแก่กลุ่มคนดังต่อไปนี้
เนื่องจากยังไม่มีงานศึกษาการทำเทอร์มาจกับผู้เข้ารับการรักษาบางกลุ่ม จึงต้องอยู่ในความควบคุมและดุลยพินิจของแพทย์ ซึ่งมีดังต่อไปนี้
Thermage FLX ไม่เพียงช่วยให้ผิวบนใบหน้า รอบดวงตาและร่างกายให้เรียบเนียนกระชับคอนทัวร์ดี ทว่ายังฟื้นคืนความอ่อนเยาว์ทั้งรูปลักษณ์ ทรวดทรงและสัดส่วน ซึ่งเห็นผล 20 – 30% ในช่วงแรก ก่อนจะเห็นผลชัดที่สุดในเดือนที่ 6 หลังจากนั้นจะคงสภาพผลลัพธ์ได้นานราว 1 - 2 ปี ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพผิวและความชำนาญการของแพทย์ผิวหนัง ทั้งนี้เราจะเริ่มอธิบายลักษณะผลลัพธ์ที่ได้ในแต่ละส่วนเพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
เนื่องจาก Thermage FLX ได้พัฒนาส่วนระบบสั่น (Vibration) และระบบให้ความเย็น (Cooling System) ให้ทำงานประสานกันอย่างนุ่มนวลเป็นจังหวะ จึงช่วยลดทอนความเจ็บระหว่างทำไประดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม แพทย์จะให้ยาชาก่อนรักษา 45 – 60 นาทีเพื่อให้ความรู้สึกเหล่านั้นให้เบาบางจางลง
สามารถทำเทอร์มาจร่วมกับทำหัตถการตัวอื่น เช่น Rejuran, Exosome, Botulinum toxin เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาได้ อย่างไรก็ตาม ควรเว้นระยะรักษาก่อนทำเทอร์มาจอย่างน้อย 2 สัปดาห์หรือตามคำแนะนำของแพทย์
หากผู้เข้ารับการรักษาเกิดวิตกกังวลสูง แพทย์อาจให้ยาคลายกังวล (Anxiolytic) ร่วมกับการพูดคุยเพื่อให้เกิดความสบายใจยิ่งขึ้น
https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/32902088/
เรียบเรียงโดย ฝ่ายวิจัยและพัฒนา [แก้ไขข้อมูล 4/04/66]