รู้จักกับ PRP คืออะไร ตัวช่วยฟื้นฟูผิวสวยด้วยเกล็ดเลือด”

prp growth factor

PRP ( Platelet Rich Plasma )

การรักษาด้วยเกล็ดเลือดเข้มข้น หรือ การทำ PRP (Platelet Rich Plasma) เป็นที่นิยมและรู้จักอย่างแพร่หลายหรือในต่างประเทศที่เรียกว่า Vampire Therapy เนื่องจาก PRP มีคุณสมบัติในการกระตุ้นกระบวนการหายของบาดเเผล ช่วยรักษาการบาดเจ็บ จึงถูกนำมาใช้เพื่อรักษาการอักเสบและการบาดเจ็บของเอ็นกระดูกและกล้ามเนื้อ การใช้เพื่อการฟื้นฟูผิวและเสริมการรักษาปัญหาผิวหนังอื่นๆ เช่น ฝ้า แผลเป็น ผิวแตกลาย การรักษาเพื่อบรรเทาอาการผมร่วง ผมบาง หรือเสริมการรักษาหลังการปลูกผม รวมถึงการใช้เพื่อการรักษาในทางสูตินรี เป็นต้น


สารบัญ
PRP คืออะไร
Growth Factor ช่วยซ่อมแซมเซลล์ได้อย่างไร
ทำไมรักษาด้วย PRP แต่ละที่จึงให้ผลแตกต่างกัน
LP-PRP ขั้นตอนการสกัดโกรทแฟคเตอร์คุณภาพสูง
PRP เหมาะกับใคร
PRP ทำกี่ครั้งเห็นผล
การเตรีมตัวก่อนและหลังรักษาด้วย PRP

 

รู้จัก PRP Growth Factor

PRP คืออะไร

PRP ย่อมาจาก Platelet Rich Plasma ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจองค์ประกอบของเลือดกันก่อน โดยในเลือดของเราประกอบไปด้วย

1.     พลาสมา (Plasma) หรือน้ำเลือด มีสีเหลืองอ่อนและใส ประกอบไปด้วยน้ำ โปรตีน เกลือแร่ วิตามิน ฮอร์โมน ก๊าซที่ละลายในน้ำเลือด (Blood gas) Growth factors ที่สำคัญ โดยพลาสมาโปรตีนจะช่วยในกระบวนการแข็งตัวและการสร้างร่างแหไฟบรินเพื่อให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่อใหม่

2.     เม็ดเลือดแดง (Red Blood Cells) มีหน้าที่ขนส่งก๊าซออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อและเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย

3.     เม็ดเลือดขาว (White Blood Cells) มีหน้าที่ทำลายเชื้อโรคที่เข้ามาในร่างกายของเราเพื่อป้องกันการติดเชื้อในร่างกาย เมื่อร่างกายเกิดการอักเสบหรือติดเชื้อขึ้น จะทำให้ปริมาณเม็ดเลือดขาวในร่างกายเพิ่มมากขึ้น

4.     เกล็ดเลือด (Platelets) คือ ส่วนประกอบของเลือดชนิดหนึ่งซึ่งมีความสำคัญมาก ในกลไกการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ โดยมี Growth Factor ที่จำเป็น เช่น FGF, PDGF, TGF-ß, EGF, VEGF, IGF ซึ่งมีบทบาทในการกระตุ้น Stem cell ให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ นอกจากนี้เกล็ดเลือดยังกระตุ้นการทำงานของ Fibroblasts (เซลล์สร้างคอลลาเจน) และ Endothelial cell (เซลล์เยื่อบุผนังหลอดเลือด) อีกด้วย

 
Platelet Rich Plasma (PRP) จึงเป็นการนำส่วนของพลาสมาที่มีความเข้มข้นของเกล็ดเลือดมากกว่าปกติ มาใช้ในการกระตุ้นกระบวนการต่างๆในร่างกายให้เกิดการฟื้นฟู ซ่อมแซม เนื่องจากในพลาสมามีโปรตีนที่สำคัญ คือ โกรทแฟคเตอร์ (Growth Factor)


prp growth factor

Growth Factor ช่วยซ่อมแซมเซลล์ได้อย่างไร


โกรทแฟคเตอร์ คือกลุ่มของโปรตีนชนิดหนึ่งที่ร่างกายสามารถผลิตขึ้นได้เองตามธรรมชาติ มีบทบาทสำคัญที่จำเป็นต่อการอยู่รอดของเซลล์ และการฟื้นฟูเซลล์ คือ

·       ช่วยลดการอักเสบ

·       ช่วยการสมานบาดแผล (wound healing)

·       ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด

·       กระตุ้นการผลิตคอลลาเจน และอิลาสติน

·       ช่วยฟื้นฟูเซลล์รากผม

·       ช่วยกระตุ้นให้เซลล์มีการแบ่งตัวเพิ่มมากขึ้น


prp growth factor

ทำไมรักษาด้วย PRP แต่ละที่จึงให้ผลแตกต่างกัน


ที่เมดดิไซน์ คลินิก นำโกรทแฟคเตอร์จากเลือดมาใช้ในรูปแบบ LP-PRP (Leukocytes Poor Platelet Rich Plasma) เพื่อให้ได้ PRP ที่มีเซลล์ที่มีคุณภาพสูงและเกล็ดเลือดที่ยังมีชีวิตอยู่ มีการปนเปื้อนเม็ดเลือดในปริมาณต่ำมาก โดยมีการกำจัดเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวชนิดที่ก่อให้เกิดการอักเสบออก คงเหลือไว้เฉพาะ Lymphocytes และ Monocytes รวมถึงได้ความเข้มข้นของเกล็ดเลือดที่สูงกว่า 1.6 เท่า เมื่อเทียบกับปริมาณปกติในเลือด ซึ่งเป็นจุดเด่นที่แตกต่างจาก PRP แบบธรรมดา

โดยขั้นตอนการรักษาจะไม่แตกต่างกับ PRP แบบปกติ แต่จะแตกต่างกันที่หลอดเก็บเลือด (tube) LP-PRP จะใช้หลอดเก็บเลือดแบบพิเศษเรียกว่า RegenBCT® tube ซึ่งบรรจุเจลต้านการแข็งตัวของเลือด (sodium citrate anticoagulant) ที่มีค่า pH 7 คือมีความเป็นกลาง จึงไม่ส่งผลไม่ดีต่อคุณภาพของเลือด และมีเจลที่สามารถแยกพลาสมาและเกล็ดเลือดออกจากกันได้ นอกจากนี้แล้ว ยังใช้ปริมาณเลือดน้อยกว่าหลอดเก็บเลือด PRP แบบปกติ แต่สามารถกระตุ้นความเข้มข้นของเกล็ดเลือดได้มากกว่า โดยดำเนินกระบวนการทั้งหมดในระบบปิดปลอดเชื้อ (Sterile technique) จึงมั่นใจได้ในประสิทธิภาพและความปลอดภัย ผ่านมาตรฐาน ISO13485 ทั้งในอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งประเทศไทย (อย.) 


prp growth factor

LP-PRP ขั้นตอนการสกัดโกรทแฟคเตอร์คุณภาพสูง

     ขั้นตอนในการทำ LP-PRP

  • ผิวหน้าและเรือนกาย: อุดมด้วยตัวฟื้นฟูซึ่งใช้ได้ทุกสภาพผิว ทั้งยังทำร่วมกับหัตถการอื่นได้สะดวก ซึ่งหากได้รับการรักษาด้วยการฉีด LP-PRP จะได้ผลลัพธ์ดังนี้
    • แก้ผิวหย่อนคล้อยให้ยืดหยุ่นแน่นกระชับ
    • ปรับผิวแห้งกร้านมากริ้วรอยร่องลึกให้เปล่งปลั่งและนุ่มฟู
    • รักษาฝ้ากระหลุมสิว สีผิวไม่สม่ำเสมอและหมองคล้ำให้เลือนจาง
  • เส้นผม: ยังได้รับประยุกต์ใช้รักษาอาการผมร่วง ผมบาง ผมแห้งกรอบศีรษะล้านอย่างแพร่หลาย โดยให้ผลชะลอการหลุดร่วงและฟื้นบำรุงเซลล์รากผมให้แข็งแรงพอพร้อมก่อกำเนิดเส้นผม จึงไม่แปลกที่ LP-PRP จะเด่นดังในวงการแพทย์ปลูกผม (Hair Transplant) ณ ปัจจุบัน
  • สุขภาพทางเพศ: ยังช่วยเสริมการรักษาร่วมกับหัตถการฟื้นฟูผิวบริเวณช่องคลอด (Vagina) ที่แห้งกร้านขาดฮอร์โมนให้ชุ่มชื้นกระชับเป็นอย่างดี

prp growth factor

PRP เหมาะกับใคร


PRP เพื่อรักษาปัญหาผิว: PRP ถูกนำมาใช้ในการรักษาปัญหาผิวพรรณเพื่อรักษาผิวแห้งกร้าน มีริ้วรอย ขาดความเปล่งปลั่ง ผิวหย่อนคล้อยไม่กระชับ สีผิวไม่สม่ำเสมอ รวมถึงการรักษาในกลุ่มแผลเป็น หลุมสิว ผิวแตกลาย แผลเป็นนูนสามารถเพิ่มปะสิทธิภาพการรักษาได้โดยทำควบคู่กับหัตถการอื่นๆ เช่น กลุ่มเลเซอร์ คลื่นเสียง คลื่นความถี่วิทยุ การรักษาด้วยพลาสมา เป็นต้น

PRP เพื่อรักษาปัญหาเส้นผม: PRP ยังได้รับความนิยมใช้รักษาอาการผมร่วง ผมบาง ผมแห้งกรอบศีรษะล้าน โดยให้ผลชะลอการหลุดร่วงและฟื้นบำรุงเซลล์รากผมให้แข็งแรง กระตุ้นการงอกของเส้นผมใหม่ รวมถึงการใช้ในหัตถการทั้งก่อนและหลังปลูกผม (Hair Transplant)

PRP เพื่อรักษาการบาดเจ็บของเอ็นกระดูกและกล้ามเนื้อ: PRP ถูกนำมาใช้ในการรักษา โรคข้อเสื่อม อาการบาดเจ็บและความเสื่อมของเส้นเอ็น อาการบาดเจ็บของกระดูกในข้อเข่า ข้อเข่าอักเสบ เป็นต้น

PRP สุขภาพทางเพศ: แพทย์สูตินรี ใช้ PRP เป็นหัตถการเสริมในการรักษาปัญหาสุขภาพทางเพศในผู้หญิง โดยเฉพาะในวัยใกล้หมด หรือหมดประจำเดือน ที่มีปัญหาผิวบริเวณช่องคลอดแห้ง (Vulvovaginal dryness) บาง แสบ จากการขาดออร์โมน ให้กลับมาชุ่มชื้นและยังช่วยเพิ่มความกระชับได้เป็นอย่างดี


prp growth factor

PRP ทำกี่ครั้งเห็นผล


เพื่อให้การรักษาเกิดประสิทธิภาพที่ดีที่สุด ควรได้รับการประเมินจากแพทย์ก่อน ว่าควรรักษากี่ครั้ง บ่อยแค่ไหน โดยปกติแพทย์อาจนัดเพื่อทำการรักษา ทุก 2-8 สัปดาห์ เนื่องจากแต่ละคนมีปัจจัยหลายๆอย่างที่แตกต่างกัน เช่น ปัญหาที่ต้องการรักษา ตำแหน่งที่ต้องการรักษา อายุ สุขภาพ วิธีดูแลตนเอง เป็นต้น


prp growth factor

ภาพกระบวนการทำ LP-PRP ผ่านเครื่อง  Certrifuge


การเตรียมตัวก่อนและหลังรักษาด้วย


ผู้เข้ารับการรักษาไม่ต้องเตรียมตัวเป็นพิเศษ เพียงดื่มน้ำและพักผ่อนให้เพียงพอ โดยการเจาะเลือดก่อนรักษาเพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม มีข้อคำนึงบางประการที่ผู้เข้ารับการรักษาควรระวัง ดังต่อไปนี้

·     งดเครื่องดื่มคาเฟอีน อาหารรสจัด อาหารเสริมและกลุ่มยาแอสไพรินหรือนูโรเฟน ก่อนทำหัตถการฉีด LP-PRP อย่างน้อย 1-2 สัปดาห์ เพื่อกันสภาวะฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือดซึ่งก่อเกิดอาการบวมช้ำระหว่างการรักษา

·       หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำ ออดแดดหรือออกกำลังกายอย่างหนักหลังฉีด LP-PRP อย่างน้อย 72 ชั่วโมงหรือตามดุลยพินิจิของแพทย์

·       ภายหลังการรักษาด้วย PRP สามารถประคบเย็นบริเวณที่ฉีดได้ กรณีรู้สึกปวดบริเวณที่ทำการรักษา


แหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม: 

https://www.regenlab.com/products/regenkit-a-prp-2/




Exosome

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้