ตรวจวัดระดับสารโลหะหนักในร่างกาย (Heavy Metal Test Program)

heavy metal test

โปรแกรมตรวจวัดระดับสารโลหะหนักในร่างกาย


การมีโลหะหนักสะสมในร่างกายอาจเป็นสาเหตุของอาการต่าง ๆ ได้แก่ ท้องอืด ท้องผูก คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ หงุดหงิดง่าย มีไข้ต่ำ ๆ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ มีแผลร้อนในในปากเป็นประจำ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ผิวหนังเป็นผื่นคัน เรื้อรัง เจ็บป่วยง่าย หายช้า ภูมิคุ้มกันต่ำ เป็นโรคภูมิแพ้ โรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็งลำไส้ มะเร็งตับ เป็นต้น ดังนั้นการตรวจวัดระดับสารโลหะหนักในร่างกาย (Heavy Metal Test Program) อาจช่วยเซฟชีวิตคุณได้มากขึ้น


heavy metal test

แหล่งก่อเกิดสารโลหะในร่างกาย


Arsenic (As)อาร์เซนิกหรือสารหนู

เป็นส่วนประกอบในยาฆ่าแมลงและยาปราบศัตรูพืช และมักพบในการทำเหมืองแร่ดีบุก อุตสาหกรรมด้านการเกษตร อุตสาหกรรมย้อมผ้า เมื่อได้รับเข้าสู่ร่างกายโดยทางเดินหายใจ จะทำให้ระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อ เกิดเยื่อบุกั้นจมูกทะลุ และอาจเกิดมะเร็งที่ปอดได้ ทางผิวหนัง ทำให้เกิดระคายเคือง เป็นผื่นผิดปกติเรื้อรังอาจทำให้เกิดมะเร็งที่ผิวหนังได้ ทางตา เกิดอาการระคายเคือง ตาแดง อักเสบ และจะทำลายระบบประสาทอาจทำให้เกิดอาการแขนขาชาและอาจเป็นอัมพาต ถ้าได้รับปริมาณมากจากการอาหาร (Inorganic Arsenic) จะทำให้เกิดตับอักเสบและเกิดโรคมะเร็งในอวัยวะภายในมากขึ้น พิษของสารหนูทำให้เกิดโรคที่เรียกว่า ไข้ดำ ซึ่งคนเป็นโรคนี้จะมีผิวดำคล้ำ เป็นผื่นแดงและคันบางรายมีอาการผิวหนังเป็นสะเก็ด อาการโดยทั่วไปจะมีอาการอ่อนเพลียมือและเท้าชา


Cadmium (Cd) หรือแคดเมียม


แคดเมียมที่ปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อมจะพบในแหล่งทำเหมือง สังกะสีและตะกั่วในอุตสาหกรรม ยาสูบและบุหรี่ พลาสติก และยาง นอกจากนี้ยังนิยมใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมผลิตแบตเตอรี่ อุปกรณ์ไฟฟ้า โลหะผสม อะไหล่รถยนต์ โลหะผสมในอุตสาหกรรมเพชรพลอยอีกด้วย เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะถูกดูดซึมและสะสมเพิ่มขึ้นในปริมาณสูงจะทำให้เกิดมะเร็ง ไตทำงานผิดปกติ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง ปวดกระดูกสันหลัง แขนขา ซึ่งจะทำให้ไตพิการได้ โรคที่เกิดจากพิษของแคดเมียมเรียกว่า โรคอิไต - อิไต (Itai Itai disease)


Lead (Pb) ตะกั่ว


เป็นโลหะหนักมีสีเทาเงิน หรือแกมน้ำเงินเกิดขึ้นตามธรรมชาติ ปัจจุบันอุตสาหกรรมหลายประเภทมีการใช้ตะกั่วเป็นวัตถุดิบเป็นจำนวนมาก เช่น อุตสาหกรรมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ ซึ่งทำให้เกิดการปลดปล่อยตะกั่วและสารประกอบของตะกั่วในรูปของสารมลพิษออกสู่สภาวะแวดล้อม ตะกั่วสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ 3 ทาง คือ ทางอาหาร การหายใจ และผิวหนัง เมื่อสารตะกั่วเข้าสู่ร่างกาย ส่วนใหญ่จะจับยึดอยู่กับเม็ดเลือดแดงจะไปลดการสร้างฮีม (Heme) ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของเม็ดเลือดแดงโดยไปยับยั้งเอนไซม์ที่เกี่ยวกับการสร้างฮีม นอกจากนี้ตะกั่วยังมีผลต่อตับ หัวใจ และหลอดเลือด ทำให้เกิดการผิดปกติของโครโมโซม ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง และความพิการแต่กำเนิด


ตรวจโลหะหนักในร่างกาย

Mercury (Hg) หรือปรอท


เป็นโลหะหนักที่อยู่ในรูปของเหลวระเหยเป็นไอได้ง่ายในภาวะปกติ พบมากในแหล่งที่มีการเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิง โลหะ โรงงานผลิตปูนซีเมนต์ ในอุตสาหกรรมที่มีการใช้สารประกอบของปรอท นอกจากนี้ยังใช้ในวงการแพทย์ เช่น เป็นสารอุดฟัน ไอปรอทที่เข้าสู่ร่างกายจะถูกดูดซึมเข้าสู่ระบบหมุนเวียนโลหิตทันที และกระจายไปยังสมองและส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้รวดเร็ว การได้รับสารปรอทสะสมเป็นเวลานานจะทำให้มีอาการมือ และใบหน้าเกิดอาการบวมและเจ็บ บางคนอาจเกิดอาการเหน็บชาบางส่วนจนเป็นอัมพาต โรคที่เกิดจากปรอท เรียกว่า โรคมินามาตะ


Tin (Sn) หรือดีบุก


เป็นธาตุที่พบได้ตามธรรมชาติแต่จะพบดีบุกในดินและอาหารต่าง ๆ ในปริมาณน้อย ดีบุกใช้ในการผลิตกระป๋อง ตะกั่วขัดสี เหล็ก ท่อทองแดง กระป๋องบรรจุอาหารทำจากแผ่นเหล็กเคลือบดีบุก เพื่อป้องกันการกัดกร่อนของเหล็ก และเคลือบทับด้วยสารสังเคราะห์บางประเภทอีกชั้นหนึ่งเพื่อป้องกันดีบุกละลายผ่านออกมา แต่หากนำไปบรรจุอาหารที่มีสารบางชนิดปนอยู่หรือการเก็บอาหารกระป๋องในที่ร้อน ดีบุกจะละลายมาในอาหารได้ นอกจากนั้นเมื่อเปิดกระป๋องแล้วออกซิเจนจากอากาศจะเป็นตัวเร่งให้ดีบุกละลายมากขึ้น อาหารกระป๋องจึงเป็นแหล่งสำคัญที่ผู้บริโภคมีโอกาสได้รับธาตุดีบุกมากกว่าอาหารประเภทอื่น พิษเฉียบพลันของดีบุก จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดินและมีไข้





Exosome

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้