
เทคโนโลยีคูลสคัลป์ติ้ง (Coolsculpting)
Coolsculpting คือเทคโนโลยีจาก Zeltiq Aesthetics ที่ใช้ความเย็นสลายเซลล์ไขมันใต้ผิวเฉพาะที่โดยไม่ทิ้งบาดแผลและไม่ก่อเกิดการบาดเจ็บ ซึ่งเห็นผลในเวลาอันสั้น ด้วยกระบวนการไครโอไลโปไลซิส (Cryolipolysis & Trade) ภายใต้การทำงานของ Coolsculpt ในระยะเวลาที่เหมาะสม ทำให้เซลล์ไขมันแข็งและตายในที่สุด ซึ่งส่งผลให้ชั้นไขมันบางลง การสลายไขมันด้วยความเย็นวิธีดังกล่าวจึงช่วยคุณกระชับสัดส่วนทั่วเรือนกายจากการลดจำนวนเซลล์ไขมันได้ไม่ต่างจากการดูดไขมัน

หลักการทำงาน
ปกติการลดน้ำหนักโดยควบคุมอาหารและออกกำลังกาย หรือกระชับสัดส่วนด้วยทรีตเมนต์ทั่ว ๆ ไปนั้น ไม่สามารถลดจำนวนเซลล์ไขมันลงได้ เพียงแต่เปลี่ยนขนาดเซลล์ไขมันให้เล็กลง หากอ้วนขึ้นเซลล์ไขมันเหล่านี้ก็พร้อมจะขยายขนาดขึ้นเช่นกัน ภายใต้หลักการทำงานที่ทำให้เกิดกระบวนการไครโอไลโปไลซิสของคูลสคัลป์ติ้ง เริ่มต้นโดยปล่อยคลื่นความเย็นผ่านแอปพลิเคเตอร์ด้วยแรงดูดที่เหมาะสมลงสู่ชั้นใต้ผิว ควบคุมรักษาระดับความเย็นไว้ที่ -12 องศา ระยะหนึ่ง จนเซลล์ไขมันแข็งตัวและเกิดกระบวนการตาย โดยมีระบบน้ำเหลืองช่วยกำจัดเซลล์ไขมันนี้ที่ตายออกจากร่างกายอย่างเป็นธรรมชาติ

ประสิทธภาพของ Coolscupting
เมื่อจำนวนเซลล์ไขมันลดลง ไขมันใต้ผิวจึงบางลง สามารถลดจำนวนเซลล์ไขมันบริเวณที่รักษาได้ 20-25% เซลล์ไขมันหลังถูกทำให้ตายจะไม่ถูกสร้างขึ้นใหม่หรือกลับมาเพิ่มจำนวนได้อีก การกำจัดไขมันวิธีนี้ จึงทำให้เซลล์ไขมันหายออกไปจากร่างกายคล้ายกับการดูดไขมัน แตกต่างกันที่ไม่ทำให้เกิดบาดแผล ไม่ต้องการการพักฟื้นใด ๆ และปลอดภัยสูงและวิธีนี้จะไม่ส่งผลกระทบกับเซลล์ข้างเคียง ไม่ว่าจะเป็นผิว เส้นเลือด เส้นประสาท หรืออื่น ๆ จะไม่ถูกทำลายแต่อย่างใด เซลล์ไขมันจะเริ่มตายหลังจาก 2-3 วันหลังการรักษา ผลการรักษาสามารถเห็นได้ใน 3-6 สัปดาห์หลังจากการรักษา โดยร่างกายจะกำจัดออกไปได้เองด้วยวิธีธรรมชาติของร่างกาย การรักษานี้จะเน้นไขมันส่วนเกินเฉพาะจุดที่มีการสะสมของไขมันซึ่งกำจัดยาก หรือกำจัดไม่ได้โดยการควบคุมอาหารร่วมกับการออกกำลังกาย เช่น บริเวณหน้าท้อง แผ่นหลัง บั้นเอว ข้างลำตัว ต้นแขน ต้นขาด้านในและด้านนอก รวมถึงหน้าอกที่มีไขมันส่วนเกินในผู้ชาย


เหมาะกับใคร
ผู้ที่มีปัญหาของไขมันส่วนเกินใต้ผิวหนังเฉพาะจุด ได้แก่
- เอว
- หน้าอก (ชาย)
- ท้องแขน
- หน้าท้อง
- ต้นขา
- หลัง
ข้อควรระวังหลังจากการทำการรักษา
- ควรทำหลังการผ่าตัด 8 เดือน เป็นต้นไป
- ดื่มน้ำเปล่าครบ 8 แก้ว ต่อวัน อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง 3 เดือน
- หากมีอาการผิวแดงบวม ตะคริวอ่อน อาการปวดและชา หลังทำสองถึงสามวันสามารถรักษาให้หายได้ในระยะ 2 - 3 สัปดาห์
- หลังการรักษาประมาณ 1 สัปดาห์ - อาการคันและรู้สึกเสียวซ่าบริเวณที่ทำการรักษา
- ผลข้างเคียงอาจเกิดในระดับที่แตกต่างกัน โดยงานวิจัยทางคลินิกได้เผยให้เห็นว่าผลข้างเคียงบางอย่างอาจลดลงหาก
- ใช้ผ้ารัดบริเวณที่รักษา
- ประคบเย็นหรือใช้แผ่นความร้อนแปะ
- การรัด (ด้วยชุดรัดรูปหรือสเตย์)
- ใช้ยา Benadryl หรือ Ambien ในเวลากลางคืน
- ทานยา Gabapentin / Neurontin / Lyrica
- อาจเกิดอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ เหงื่อออกและเป็นลมในระหว่างหรือหลังการรักษา (Vasovagal symptoms) โดยระหว่างเกิดอาการสามารถแจ้งแพทย์และผู้ช่วยแพทย์
- อาจรู้สึกไม่สบายตัว หรือปวดตามบริเวณที่ทำซึ่งมักแสดงอาการช่วง 3 - 4 วันหลังการรักษาซึ่งจะหายเองตามใน 2 - 3 สัปดาห์ (หากเกิดกรณีก้อนแข็ง ร่างกายจะฟื้นตัวสู่สภาพปรกติใน 3 - 6 เดือน)
- สีผิวอาจเข้มขึ้นร่วมกับมีรอยแดงจากความเย็นหลังการรักษา ซึ่งอาจเกิดขึ้นระหว่างทำ Treatment ทว่าจะหายได้เองเป็นปรกติ
- หากเนื้อเยื่อไขมันใต้ผิวหนัง (Paradoxical Adipose Hyperplasia หรือ PAH) เพิ่มขึ้นหลังทำได้ 5 เดือน ควรพบแพทย์เพื่อประเมินอาการและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
- ควรเข้าพบแพทย์เพื่อประเมินอาการอีกครั้งใน 30 วัน
ไม่เหมาะกับใคร
- ผู้ที่มีความผิดปกติของระบบเลือด เช่น Cryoglobulinemia หรือ Paroxysmal Cold Hemoglobinuria (PCH)
- ผู้ที่มีความไวต่อความหนาวเย็น เช่น ลมพิษหรือโรคเรย์โนด์ (Raynaud's disease)
- ผู้ที่ประสบปัญหาการไหลเวียนเลือด
- ผู้ที่มีความผิดปกติทางระบบประสาทและการรับรู้ความรู้สึกตามผิวหนังบกพร่อง เช่น โรคประสาทโพสต์ herpetic หรืออักเสบเบาหวาน
- ผู้ที่มีแผลเปิดหรือติดเชื้อ
- ผู้ที่มีเลือดออกผิดปกติ
- ผู้ที่มีภาวะไส้เลื่อน
- ผู้ที่มีปัญหาผิว เช่น กลาก เกลื้อน ผื่นคัน เป็นต้น
- ผู้ที่ติดอุปกรณ์ใด ๆ ในร่างกาย เช่น เครื่องกระตุ้นหัวใจและเครื่องช็อกไฟฟ้า
- สตรีมีครรภ์
- ผู้ที่มีไขมันสะสมจากภายใน เช่น บริเวณหน้าท้องที่มีไขมันในช่องท้อง (Visceral Fat)
- ผู้ที่แพ้ความเย็น หรือ มีความรู้สึกไวต่อความเย็น เช่น ลมพิษจากความเย็น (Cold urticaria) หรือ ภาวะเรย์โนด์ (Raynaud’s Phenomenon)
ผู้ที่มีรูปร่างผอมมาก
เรียบเรียงโดย ฝ่ายพัฒนาและวิจัย [ แก้ไขข้อมูล 11/04/66 ]


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม