ปัจจุบันมะเร็งเป็นสาเหตุการตายในอันดับแรกของคนไทย มะเร็งที่พบบ่อย ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ มะเร็งปอด และมะเร็งผิวหนัง ซึ่งมะเร็ง หมายถึง เซลล์เนื้อร้ายที่เปลี่ยนแปลงมาจากเซลล์ปกติของร่างกาย โดยเซลล์เนื้อร้ายนี้จะมีการเจริญเติบโตและแพร่กระจายไปอยู่รอบด้านของเซลล์ปกติอย่างรวดเร็ว โดยที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้เกิดเป็นก้อนหรือเป็นแผลมะเร็งขนาดใหญ่ การแพร่กระจายเช่นนี้ทำให้มีเลือดออกจากการทำลายหลอดเลือดหรือเกิดการเน่าตายของเซลล์มะเร็งจากการที่ก้อนมะเร็งโตเร็วมากจนขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงในที่สุดจะทำให้สูญเสียเนื้อเยื่อของอวัยวะนั้นไป
ในที่นี้จะขอกล่าวถึงมะเร็งผิวหนัง ซึ่งผิวหนังเป็นอวัยวะที่มีโอกาสเป็นมะเร็งได้มากเนื่องจากผิวหนังทำหน้าที่ปกคลุมและป้องกันอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ดังนั้นผิวหนังจึงมีโอกาสเผชิญกับรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดด สารพิษและสารเคมีต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่มะเร็งผิวหนังมักเป็นที่บริเวณใบหน้า แขน ขา ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และลำตัว พบมากในผู้สูงอายุ 40 - 50 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันมักพบผู้ที่เป็นมะเร็งผิวหนังอายุน้อยลงเรื่อย ๆ
การถูกแสงแดดมากเกินไป โดยเฉพาะผู้ที่มีผิวขาว เคยผิวไหม้หรือนอนอาบแดดเป็นประจำ
การถูกรังสีเอกซเรย์ในปริมาณสูง
การเปลี่ยนแปลงของแผลเรื้อรัง เช่น แผลเป็นจากรอยไหม้ น้ำร้อนลวกของผิวหนัง
การระคายเคืองเรื้อรังจากสารเคมี เช่น ได้รับสารหนูในปริมาณสูงจากการรับประทานยาแผนโบราณเป็นระยะเวลานาน
เกิดจากกรรมพันธุ์
มะเร็งที่เกิดจากเซลล์ในชั้นฐานของหนังกำพร้าแบ่งตัวผิดปกติ (Basal Cell Carcinoma) เป็นมะเร็งผิวหนังที่พบบ่อยที่สุด มีลักษณะเป็นก้อนตุ่มนูน ขอบม้วน อาจมีสีดำหรือแตกเป็นแผล หรือเป็นผื่นแบนราบ พบบ่อยบริเวณที่ถูกแสงแดดมาก เช่น ใบหน้าและมือ มะเร็งชนิดนี้จะแพร่กระจายช้าและมักจะไม่มีการลุกลามไปส่วนอื่น หากเป็นแล้วมีการรักษา โรคก็จะหายขาด
มะเร็งที่เกิดจากเซลล์ในชั้นหนังกำพร้าแบ่งตัวผิดปกติ (Squamous Cell Carcinoma) เป็นมะเร็งผิวหนังที่พบเป็นอันดับ 2 มีลักษณะเป็นขุย มีสะเก็ด นูน แดง แตกเป็นแผลและเลือดออกง่าย พบบ่อยบริเวณที่ถูกแสงแดดมาก สามารถแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่นได้ ถ้าตรวจพบในระยะแรก สามารถรักษาให้หายขาดได้
มะเร็งที่เกิดจากเซลล์สร้างเม็ดสีแบ่งตัวผิดปกติ (Malignant Melanoma) เป็นมะเร็งผิวหนังที่พบได้น้อยที่สุด แต่ร้ายแรงและมีอัตราการตายสูงที่สุด มีลักษณะคล้ายไฝหรือขี้แมลงวัน หรือเป็นจุดสีดำบนผิวหนัง พบที่บริเวณผิวหนังและอวัยวะอื่น ๆ สามารถแพร่กระจายอย่างรวดเร็วไปตามต่อมน้ำเหลือง กระแสเลือดและไปยังอวัยวะต่าง ๆ ได้
ยกแขนขึ้น ตรวจดูแขน รักแร้ มือ หลังมือ ข้อศอก
ตรวจดูต้นขาด้านหน้า ด้านหลัง น่อง หน้าแข้ง เท้า หลังเท้า ซอกนิ้ว
ตรวจดูหลัง คอด้านหน้า ด้านหลัง หนังศีรษะ ไรผม
ตรวจดูหลัง หนังศีรษะ ไรผม
หากตรวจพบก้อนเนื้อผิดปกติตามร่างกาย ควรปรึกษาแพทย์และเมื่อแพทย์วินิจฉัยและสงสัยว่าอาจจะเป็นมะเร็งผิวหนัง ควรตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ และถ้าพบว่าเป็นมะเร็งผิวหนัง แพทย์จะตรวจพิเศษเพิ่มเพื่อดูการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งว่ามีลุกลามไปยังอวัยวะอื่นหรือไม่
หลีกเลี่ยงแสงแดดโดยเฉพาะช่วงเวลา 10.00 - 15.00 น ซึ่งเป็นช่วงที่มีรังสี UV สูงสุด
สวมเสื้อผ้าสีอ่อน เนื้อแน่น หมวกปีกกว้างหรือกางร่มเมื่อออกแดด
ทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF มากกว่า 30 เป็นประจำทุกวัน
หมั่นสำรวจร่างกายตนเองเป็นประจำ เมื่อพบความผิดปกติของผิวหนัง ควรรีบปรึกษาแพทย์
ควรเลือกรับประทานอาหารจำพวกผักและผลไม้ รวมทั้งธัญพืชที่มีสารต่อต้านมะเร็ง เช่น สตรอว์เบอร์รี บลูเบอร์รี ส้ม แคร์รอต มะเขือเทศ ถั่ว บรอกโคลี คะน้า ผักปวยเล้ง หรืออาจเลือกรับประทานอาหารเสริมที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง เช่น เบตาแคโรทีน วิตามินซี วิตามินอี แร่ธาตุสังกะสี ซีลีเนียม
การผ่าตัดเอาเนื้อร้ายออกด้วยมีดหรือเลเซอร์คาร์บอนไดออกไซด์
การจี้ด้วยไฟฟ้า
การฉายรังสี เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งเฉพาะที่ โดยเฉพาะมะเร็งที่แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น เช่น สมอง ปอด ตับ
การให้เคมีบำบัดโดยการรับประทานหรือฉีดเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง
การให้ interferon หรือ interleukin เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน
การผ่าตัด อาจทำให้เกิดแผลเป็น เช่น คีลอยด์ (keloid) หรือการตัดต่อมน้ำเหลือง อาจทำให้ขาหรือแขนบวม
การฉายรังสี อาจทำให้ผมบริเวณที่ฉายรังสีร่วง หรือมีอาการอ่อนเพลีย
การให้เคมีบำบัด อาจให้เกิดโรคโลหิตจาง ติดเชื้อง่าย เลือดออกง่าย หรือผมร่วง
การสร้างภูมิคุ้มกัน อาจปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร หรือท้องร่วง
หลักสำคัญของการรักษา คือ เพิ่มภูมิต้านทานของร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพราะเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแข็งแรงเพียงพอ เซลล์มะเร็งจะถูกทำลาย และยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการขยายตัวและแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการใช้ชีวิตประจำวัน ได้แก่
ล้างพิษร่างกาย เพื่อลดการอักเสบ การสะสมสารพิษและสารอนุมูลอิสระในร่างกายที่อาจเป็นต้นเหตุของการเกิดเซลล์มะเร็ง และยังช่วยเพิ่มภูมิต้านทานของร่างกาย สามารถทำด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้
ให้วิตามินทางเส้นเลือด ซึ่งประกอบด้วยสารต้านอนุมูลอิสระหลากหลายชนิดที่จำเป็นต่อการขับของเสียหรือสารพิษต่าง ๆ ออกจากร่างกาย เพื่อช่วยเร่งให้ตับสามารถขจัดสารพิษได้อย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์เป็นสารต้านการอักเสบ และยังประกอบด้วยสารอาหารต่าง ๆ เช่น วิตามินบีรวม เกลือแร่ แคลเซียม แมกนีเซียม ช่วยบรรเทาอาการอ่อนเพลียและเหนื่อยล้าเรื้อรัง และยังช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้แก่ร่างกายซึ่งเป็นหลักสำคัญของการป้องกันและรักษาโรคมะเร็ง
โอโซนบำบัด เป็นการนำเลือดมาผสมกับโอโซนและออกซิเจนภายนอกร่างกาย แล้วนำกลับเข้าสู่ร่างกายอีกครั้ง ช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือด ช่วยตับกำจัดสารพิษ ช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนสำหรับการหายใจของเซลล์ ซึ่งจะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ถือว่าเป็นการรักษาโรคมะเร็งแบบการแพทย์ทางเลือกวิธีหนึ่งที่สามารถใช้เสริมวิธีการรักษาแบบการแพทย์แผนปัจจุบัน
การล้างพิษด้วยการให้ H2O2 (Hydrogen peroxide) ช่วยควบคุมการสร้างพลังงาน เพิ่มการไหลเวียนเลือด กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันร่างกายซึ่งเป็นหลักสำคัญของการป้องกันและรักษาโรคมะเร็ง
Far Infrared อินฟราเรดสามารถผ่านลงมายังชั้นไขมันใต้ผิวหนังได้ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการสะสมของสารพิษ จึงช่วยเร่งการขับเหงื่อและสารพิษออกจากร่างกาย ทั้งโลหะหนัก สารเคมี และสารพิษที่ละลายในไขมันให้ออกมากับเหงื่อ ช่วยให้เซลล์ต่าง ๆ ได้รับสารอาหารและออกซิเจนมากขึ้นจากการไหลเวียนของเลือดที่ดีขึ้น ช่วยลดการอักเสบในร่างกาย จึงช่วยป้องกันมะเร็งได้
โภชนบำบัด เช่น
รับประทานอาหารไขมันต่ำ จากศึกษาส่วนใหญ่พบว่าการรับประทานผักและผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เส้นใยอาหารสูง และมีไขมันต่ำ จะช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งได้
เลือกรับประทานอาหารที่สะอาด และทำสุกใหม่ ๆ ไม่ควรรับประทานอาหารที่เก็บไว้นานโดยไม่ได้อุ่นให้เดือดใหม่ หรืออาหารแห้งที่ไม่แน่ใจว่าทำเสร็จใหม่ ๆ เช่น ขนมปังตามร้านค้าที่ไม่มีวันหมดอายุ
รับประทานผักผลไม้ให้หลากหลายชนิดให้มากขึ้น เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ผักคะน้า หัวผักกาด บรอกโคลี แคร์รอต ปวยเล้ง มะเขือเทศ แอปเปิล ฝรั่ง แก้วมังกร ฯลฯ โดยควรเลือกชนิดออร์แกนิก ปลอดสารพิษ หรือล้างให้สะอาด เพื่อลดการได้รับสารเคมีหรือสารพิษที่เป็นสารก่อมะเร็ง
ลดอาหารดองเค็ม อาหารปิ้ง-ย่าง รมควัน และอาหารที่ถนอมด้วยเกลือไนเตรต-ไนไตรต์ ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง
ไม่รับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ เช่น ก้อยปลา ปลาจ่อม ฯลฯ
งดการรับประทานอาหารที่ก่อให้เกิดการอักเสบในร่างกาย ได้แก่ อาหารที่ผ่านการแปรรูป เช่น กุ้งแห้ง กุนเชียง หมูแดดเดียว อาหารที่มีแป้งและน้ำตาลสูง เช่น น้ำอัดลม ขนมหวาน อาหารที่มีสารปรุงแต่งกลิ่น สีและรส
รับประทานอาหารเสริมที่ช่วยในการลดการอักเสบ เพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ เพิ่มภูมิต้านทาน และช่วยลดอัตราเสี่ยงการเกิดมะเร็ง เช่น วิตามินอี ไลโคปีน สารสกัดจากบรอกโคลี สารสกัดจากพริกไทยดำ สารสกัดจากขมิ้น สารสกัดจากพืชตระกูลกะหล่ำ วิตามินดี 3 ฯลฯ
งดการดื่มแอลกอฮอล์
ควบคุมน้ำหนักตัว ด้วยการออกกำลังกายและการลดรับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูง
งดการสูบบุหรี่
หลีกเลี่ยงการรับประทานยาโดยไม่จำเป็น
ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
นอนหลับและพักผ่อนอย่างเพียงพอ เพราะการนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยเพิ่มการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง
อย่าเครียด อย่าทำงานหนัก และหาวิธีจัดการกับความเครียด
ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม โดยไม่ควรหักโหม อย่างน้อยควรลุกเดินเล่นบ้างเพื่อให้ปอดขยายตัวได้เต็มที่ การออกกำลังกายจะทำให้ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
อาบน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งเช้าและก่อนนอน ฟอกสบู่ให้สะอาดโดยเฉพาะบริเวณที่อับชื้น เช่น รักแร้ ใต้ราวนม ขาหนีบ (ควรเลือกใช้สบู่สำหรับเด็ก) การอาบน้ำจะช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อโรคที่ผิวหนัง หลังอาบน้ำควรเช็ดตัวให้แห้งแล้วใช้โลชั่นทาผิว เพื่อป้องกันผิวแห้ง โดยเลือกใช้โลชั่นที่ไม่มีกลิ่นน้ำหอม แต่ไม่แนะนำให้ใช้แป้งฝุ่น เพราะแป้งฝุ่นจะเป็นตัวนำเชื้อโรคเข้าสู่ปอดได้
หลีกเลี่ยงการรับสารพิษต่าง ๆ ทั้งจากมลพิษ ยาฆ่าแมลง สารเคมี สารโลหะหนักเข้าสู่ร่างกาย
ระบบการขับถ่ายหรือการขับปัสสาวะผิดปกติหรือเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น ท้องผูกสลับท้องเสีย ถ่ายอุจจาระมีเลือดปน ถ่ายปัสสาวะเป็นเลือด
เจ็บคอ เสียงแหบ ไอเรื้อรัง
มีการเปลี่ยนแปลงของหูดหรือไฝตามร่างกาย เช่น ขนาดใหญ่ขึ้นผิดปกติ หรือรูปร่างเปลี่ยนแปลง หรือแตกเป็นแผล มีเลือดออก
มีก้อนที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หรือก้อนโตอย่างรวดเร็ว
มีแผลเรื้อรัง รักษาไม่หาย
อาหารไม่ย่อย ท้องอืด คลื่นไส้ เบื่ออาหาร
ปวดหลัง บั้นเอว
ข้อมูลคลินิก เมดดิไซน์ ยินดีให้บริการ Work with Heart
Phone : 02-954-9440
(เวลา 9:00-17:00 น.)
Mobile : 089-900-6100
Line : @medisci หรือ คลิก
ลงทะเบียน : คลิก
Website : www.mediscicenter.com
Location คลิก
มีที่จอดรถรองรับ
ติดตามสาระน่ารู้ใหม่ๆได้ที่
Facebook: Medisci Anti-Aging
twitter: Medisci Anti-Aging
instagram: medisci
blockdit: คุยกับหมออัจจิมา
Youtube: คุยกับหมออัจจิมา
Podbean คุยกับหมออัจจิมา
Spotify คุยกับหมออัจจิมา
Google Podcasts คุยกับหมออัจจิมา
Apple Podcasts คุยกับหมออัจจิมา
Soundcloud คุยกับหมออัจจิมา