การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตโดยการลดปัจจัยเสี่ยง ซึ่งการลดปัจจัยเสี่ยงเป็นแนวทางที่สำคัญอย่างยิ่งในการรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจากเส้นเลือดหัวใจตีบ ทั้งยังช่วยป้องกันไม่ให้มีการตีบของเส้นเลือดหัวใจและยังช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจลงด้วย
งดสูบบุหรี่อย่างเคร่งครัด
ลดและควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
หาวิธีจัดการกับความเครียด เช่น ทำงานอดิเรกที่ชอบ นั่งสมาธิ ฝึกกำหนดลมหายใจ
ควบคุมระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด ความดันโลหิตให้อยู่เกณฑ์ปกติ เพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง และความดันโลหิตสูง
หลีกเลี่ยงการรับสารพิษโลหะหนักโดยไม่จำเป็น
ควบคุมการรับประทานอาหาร โดยเลือกรับประทานอาหารที่มีพลังงานเหมาะสมและมีสารอาหารครบทุกหมู่
ควรมีการตรวจเลือดเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดตีบตัน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์และอัมพาต ตรวจได้จาก
การตรวจวัดระดับไขมันในเลือด ไขมันที่เกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือด (ด้านใน) นั้นเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการแข็งตัวของผนังหลอดเลือดซึ่งจะนำไปสู่การมีหลอดเลือดตีบ ถ้าหลอดเลือดที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจตีบจนถึงระดับที่ทำให้เลือดที่ไหลผ่านอยู่ภายในหลอดเลือดผ่านไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของหัวใจ ก็จะทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด การตรวจวัดระดับไขมันในเลือด
Total Cholesterol ถ้ามีระดับสูง ทำให้หลอดเลือดแข็งและตีบตันได้
LDL - Cholesterol ถ้ามีระดับสูง ทำให้หลอดเลือดแข็งและตีบตันได้
Triglyceride ถ้ามีระดับสูง ทำให้หลอดเลือดแข็งและตีบตันได้
HDL - Cholesterol ช่วยลำเลียงไขมันที่เกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือดออกไป ถ้ามีระดับสูงจะช่วย ป้องกันหลอดเลือดตีบตันได้
การตรวจวัดระดับ CRP (high sen.) และ ESR (Erythrocyte sedimentation rate) ที่บ่งบอกถึงการอักเสบตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และผนังหลอดเลือด ไขมันที่เกาะที่ผนังหลอดเลือดนั้นจะทำให้มีการอักเสบของผนังหลอดเลือดด้วย ดังนั้นค่า CRP และ ESR ที่สูง จะเป็นการทำนายความเสี่ยงในการอักเสบของผนังหลอดเลือด
การตรวจวัดระดับ Homocysteine ถ้ามีระดับ Homocysteine ในเลือดสูง จะทำลายเยื่อบุภายในของหลอดเลือด มีผลให้เกิดคราบไขมันอุดตันในหลอดเลือด ซึ่งจะเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดตีบตัน
การตรวจวัดระดับ Ferritin หากมีระดับ Ferritin ในเลือดสูง แสดงว่าร่างกายมีธาตุเหล็กสูง ซึ่งจะทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นได้เพิ่มขึ้นและเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดตีบตัน แต่ถ้ามีระดับ Ferritin ในเลือดต่ำ แสดงว่าร่างกายมีธาตุเหล็กต่ำและอาจมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคโลหิตจางได้
การตรวจวัดระดับ Fibrinogen หากมีระดับ Fibrinogen สูง จะทำให้เกล็ดเลือดเกาะตัวกัน และเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดตีบตัน
การตรวจวัดระดับ Apolipoprotein A1 (Apo A1) ซึ่ง Apo A1 จะช่วยลำเลียงไขมันที่เกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือดออกไป ถ้ามีระดับสูงจะช่วยป้องกันหลอดเลือดตีบตัน
การล้างพิษด้วยการทำคีเลชั่น โดยการใช้ EDTA (Ethylene diamine tetra-acetic acid) ผสมกับวิตามินและเกลือแร่ต่าง ๆ ที่มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระทางเส้นเลือดดำ เพื่อเข้าไปกำจัดสารโลหะหนักที่เป็นพิษ เช่น ตะกั่ว ปรอท ช่วยลดปริมาณการเกิดสารอนุมูลอิสระ ช่วยรักษาอาการอักเสบของผนังหลอดเลือด ช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือด และยังใช้เสริมการรักษาโรคต่าง ๆ เช่น สารพิษอื่น ๆ ตกค้าง หลอดเลือดอักเสบ หลอดเลือดตีบตัน โรคภูมิแพ้ โรคปวดข้อ ฯลฯ จึงช่วยให้คุณมีสุขภาพที่สมบูรณ์และแข็งแรง นิยมใช้ในการรักษาโรคหลอดเลือดแดงตีบแข็ง (Atherosclerosis) และโรคที่มีความเสื่อมของระบบการไหลเวียนเลือดในร่างกาย รวมทั้งสามารถละลายไขมันที่เกาะตามผนังหลอดเลือดได้ โดย Disodium EDTA จะช่วยดึงแคลเซียมออกมาจากไขมันที่เกาะตามผนังหลอดเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดมีความยืดหยุ่นเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการศึกษาพบว่าการเพิ่มขึ้นของแคลเซียมภายในเซลล์จะทำให้หน้าที่ของเซลล์เยื่อบุผิวของผนังหลอดเลือด (Endothelial cells) เสียไป เกิดการรวมตัวของเกล็ดเลือด กระตุ้นเซลล์ที่ทำหน้าที่เก็บกินสิ่งแปลกปลอม (Macrophage) ให้ออกมามากขึ้น ทำให้ผนังหลอดเลือดแดงแข็งสูญเสียความยืดหยุ่น จนเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดแดงตีบแข็ง (Atherosclerotic Vascular Disease) ซึ่ง Disodium EDTA นั้นมีความสามารถในการดึงแคลเซียมออกจากเซลล์ทำให้เกิดความสมดุลของแคลเซียมภายในเซลล์ ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดแดงตีบแข็ง (Atherosclerosis) รวมทั้งงานวิจัยมากมายค้นพบว่าการใช้ EDTA ร่วมกับวิตามินและเกลือแร่นั้น มีส่วนช่วยในการเพิ่มระดับ HDL-Cholesterol ซึ่งเป็นไขมันดีในร่างกาย โดยไขมันชนิดนี้จะไม่จับกับผนังหลอดเลือดและป้องกันการเกิดโรคหัวใจได้สารพิษที่ตกค้างในร่างกายนั้นเป็นสาเหตุของการเกิดสารอนุมูลอิสระต่าง ๆ โดยสารอนุมูลอิสระเหล่านี้มีส่วนทำให้ผนังหลอดเลือดอักเสบ เป็นต้นเหตุของการเกิดโรคของความเสื่อม เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ปัญหาแก่ก่อนวัย รวมทั้งโรคมะเร็ง
ดังนั้น Chelation Therapy จึงมีส่วนในการป้องกันการอักเสบของผนังหลอดเลือด ป้องกันโรคความเสื่อมต่าง ๆ เนื่องจาก EDTA ช่วยในการกำจัดสารพิษออกจากร่างกายนั่นเอง
การฉีด EDTA เข้าทางหลอดเลือดดำจะเพิ่มการขับโลหะหนักออกทางปัสสาวะ และจากการที่ EDTA นั้นสามารถจับกับโลหะหนักและขับออกทางปัสสาวะได้อย่างรวดเร็ว จึงมีส่วนช่วยตับและไตในการกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย ทำให้ตับและไตไม่ต้องทำงานหนักเกินไป EDTA มีความปลอดภัยสูง เนื่องจากร่างกายสามารถกำจัดได้ในเวลา 48 ชั่วโมง ดังนั้นจึงไม่มีผลข้างเคียงร้ายแรง นอกจากอาจเกิดอาการปวดศีรษะ ระคายเคืองผิวหนัง ท้องเสีย เหนื่อยง่าย ปวดตามข้อ
ข้อมูลคลินิก เมดดิไซน์ ยินดีให้บริการ Work with Heart
Phone : 02-954-9440
(เวลา 9:00-17:00 น.)
Mobile : 089-900-6100
Line : @medisci หรือ คลิก
ลงทะเบียน : คลิก
Website : www.mediscicenter.com
Location คลิก
มีที่จอดรถรองรับ
ติดตามสาระน่ารู้ใหม่ๆได้ที่
Facebook: Medisci Anti-Aging
twitter: Medisci Anti-Aging
instagram: medisci
blockdit: คุยกับหมออัจจิมา
Youtube: คุยกับหมออัจจิมา
Podbean คุยกับหมออัจจิมา
Spotify คุยกับหมออัจจิมา
Google Podcasts คุยกับหมออัจจิมา
Apple Podcasts คุยกับหมออัจจิมา
Soundcloud คุยกับหมออัจจิมา