โปรแกรมตรวจหาความเสี่ยงมะเร็งเต้านมจากปัสสาวะ

        การตรวจประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านมด้วยวิธีง่ายๆที่คุณอาจจะคาดไม่ถึง โดยการตรวจวัดค่าของสารที่เปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจนในรูปแบบต่างๆที่ถูกขับออกมาทางปัสสาวะ ช่วยตรวจประเมินความเสี่ยงและป้องกันการเกิดโรคมะเร็งเต้านมในผู้หญิงทั่วไปและผู้ชายอ้วนลงพุง ทางการแพทย์ยังนิยมใช้การตรวจชนิดของเอสโตรเจนในปัสสาวะ (Estrogen Cancer Risk) เพื่อใช้ในการบอกความเสี่ยงแต่เริ่มแรก และเป็นการตรวจประเมินความเหมาะสมก่อนการได้รับฮอร์โมนทดแทน (HRT) ในหญิงวัยหมดประจำเดือน และใช้ตรวจเพื่อการติดตามผลต่อความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งเต้านมหลังการได้รับฮอร์โมนทดแทน

วิธีรักษาโรคมะเร็งเต้านม

         

        จากข้อมูลตัวเลขทางการแพทย์พบว่าในปัจจุบันประเทศไทยพบผู้หญิงเป็นโรคมะเร็งเต้านมมากเป็นอันดับสองรองจากมะเร็งปากมดลูก และนับวันก็ยิ่งจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในเมืองใหญ่พบว่า 1 ใน 10 ของผู้หญิง มีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งเต้านมในช่วงหนึ่งของชีวิต

        ความน่ากลัวของโรคมะเร็งเต้านมอยู่ที่ ระยะเริ่มแรกแทบไม่แสดงอาการใดๆ ยิ่งถ้ามีขนาดเล็กกว่า 1 เซนติเมตร แทบไม่สามารถคลำได้เลย ความรู้และ เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าขึ้น การตรวจด้วยวิธีเมมโมแกรม ซึ่งมีประโยชน์ในการตรวจหามะเร็งเต้านมขนาดเล็ก เพื่อรักษาแต่แรกเริ่มก่อนมะเร็งร้ายลุกลามช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิต อย่างไรก็ตามอัตราการเกิดมะเร็งเต้านมสูงกลับขึ้นและพบในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยลง แม้แต่ในวัยช่วงอายุ 15-25 ปี ซึ่งไม่ปรากฏมาก่อนในอดีต

        สาเหตุสำคัญของการเกิดโรคมะเร็งเต้านม พันธุกรรม นั่นคือถ้าบุคคลใดบุคคลหนึ่งในครอบครัวมีประวัติป่วยด้วยโรคนี้ ก็จะมีโอกาสเสี่ยงที่คนในครอบครัวเดียวกันจะเป็นโรคนี้ได้มากกว่าคนที่ไม่มีประวัติในครอบครัว แต่ไม่ได้หมายความว่าคนที่ไม่มีประวัติครอบครัวจะรอดพ้นจากมะเร็งเต้านมได้ 100% เพราะยังมีปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมภายนอกที่กระตุ้นให้เกิดมะเร็งได้อีกมากมาย อาทิเช่น การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ผู้ที่เป็นโรคอ้วนโดยเฉพาะช่วงหลังหมดประจำเดือน การได้รับสารรังสีเอกซเรย์ในปริมาณสูงเป็นประจำ และการใช้ฮอร์โมนทดแทน (hormone replacement therapy) นอกจากนี้ยังพบข้อมูลทางการแพทย์อีกประการหนึ่งที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน นั่นคือ ไม่ใช่ว่าโรคร้ายนี้จะเกิดเฉพาะแต่ในผู้หญิงเท่านั้น คุณๆคงนึกไม่ถึงว่าพวกคุณผู้ชายก็มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน โดยเฉพาะผู้ชายที่อ้วนลงพุงและมักจะมีเต้านมโตร่วมด้วย เนื่องจากปริมาณของไขมันที่สูงส่วนหนึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจน ร่างกายสามารถเปลี่ยนฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจนให้เป็นสารต่างๆได้หลายชนิด ซึ่งมีผลต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านมได้ ดังการศึกษาของมหาวิทยาลัย Rockefeller ที่พบว่า 2-hydroxyestrone มีแนวโน้มที่จะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของมะเร็ง ขณะที่ 16-a-hydroxyestrone จะเร่งการเจริญเติบโตของมะเร็ง
วิธีรักษาโรคมะเร็งเต้านม

        การค้นความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม เป็นวิธีป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านมอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยค้นความเสี่ยงก่อนการเกิดมะเร็งเต้านม ด้วยวิธีง่ายๆจากการตรวจวัดค่าของสารที่เปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจนในร่างกายในรูปแบบต่างๆที่ถูกขับออกมาทางปัสสาวะ มีประโยชน์มากในการช่วยตรวจประเมินความเสี่ยงและป้องกันการเกิดโรคมะเร็งเต้านมในผู้หญิงทั่วไปและผู้ชายอ้วนลงพุง ทั้งยังช่วยในการดูแลป้องกัน ประเมินความเหมาะสมก่อนการได้รับฮอร์โมนและช่วยติดตามผลหลังการได้รับฮอร์โมนทดแทนสำหรับหญิงวัยหมดประจำเดือนที่ต้องให้ฮอร์โมนทดแทน นอกจากนี้คุณสามารถป้องกันโรคร้ายได้ด้วยตนเองโดยวิธีง่ายๆ เช่น ควบคุมรับประทานอาหารไม่ให้อ้วนและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สำหรับผู้ที่ได้รับฮอร์โมนทดแทน ควรอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างเคร่งครัด และได้รับการตรวจร่างกายเป็นประจำ


MammogramEstrogen Cancer Risk
ตรวจเพื่ออะไรตรวจหามะเร็งเต้านมขนาดเล็กค้นความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม
ผลที่ได้การตรวจเพื่อรักษาแต่แรกเริ่มก่อนมะเร็งร้ายลุกลามเพื่อวางแผนสุขภาพชีวิต ไม่ให้เป็นมะเร็งเต้านม
ตรวจจากตรวจโดยเครื่องเอกซเรย์พิเศษตรวจวัดค่าของสารที่ถูกขับออกมาทางปัสสาวะ
สถานที่ตรวจโรงพยาบาลทั่วไปส่งตรวจแลปต่างประเทศ
การเตรียมตัวไม่ต้องงดน้ำหรืออาหารเก็บปัสสาวะแรก ในตอนเช้า
ข้อจำกัดตรวจได้ยากในผู้ชายไม่มี
ความถี่เป็นประจำทุกปีเป็นประจำทุกปี
แหล่งข้อมูล

  1. Clemons M, Goss P. Estrogen and the risk of breast cancer. N Engl J Med 2001; 344:276-285
  2. Grabrick DM, Hartmann LC, Cerhan JR, et al. Risk of breast cancer with oral contraceptive use in women with a family history of breast cancer. JAMA 2000; 284:1791-8
  3. Multi p, Bradlow HL, Micheli A, et al. Estrogen metabolism and risk of breast cancer: a prospective study of the 2:16 alpha-hydroxyestrone raio in premenopause women. Epidemiology 2000; 11:635-640
  4. สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้