เข้าใจหลุมสิวฉบับคนหน้าหลุม พร้อมหลากเทคโนโลยีวิธีรักษา

รักษาหลุมสิว

หลุมสิวอาจไม่ใช่เรื่องใหญ่ ทว่าก็ใช่ย่อยเลยสำหรับใครหลายคน รู้สึกขัดใจทุกครั้งเมื่อจ้องมองหน้าตัวเองผ่านกระจกเงาซึ่งฉายให้เห็นรูขุมขนและหลุมลึกละเอียดจนเราอยากกลบมันให้เลือนหาย ทำเช่นไรจึงจะฟื้นคืนโฉมหน้าคล้ายหลุมบ่อบนดวงจันทร์นี้ให้กลับมาเรียบเนียนพร้อมมั่นใจได้อีกครั้ง Medisci Clinic มีคำตอบดี ๆ มาฝากกันค่ะ

ทว่าก่อนอื่นต้องเข้าใจปรากฏการณ์บนใบหน้าที่ขึ้นชื่อว่า ‘สิว’ ให้ทุกคนเข้าใจกระจ่างก่อนว่าคืออะไร มีสาเหตุและกระบวนการส่งทอดสู่การเป็นหลุมสิวได้อย่างไร


‘สิว’ อารัมภบทของหลุมสิว


สิว เป็นการอักเสบของผิวหนังซึ่งเกิดจากการอุดตันของน้ำมันและเซลล์ผิวหนังที่ตายบริเวณรูขุมขนจนสำแดงผลเป็นจุดเล็ก ๆ อักเสบบวมแดงหรือมีหนอง ก่อนจะสลายหายไปจากผิวหน้าของเรา บางคนโชคดีหน้าเรียบไร้รอย ทว่าหลายคนกลับหมดความมั่นใจเมื่อสิวได้ทิ้งร่องรอยแดง รอยดำ หลุมสิวให้จดจำเป็นของต่างหน้า


รักษาหลุมสิว

หลุมสิวคืออะไร


หลุมสิว (Atrophic Scars) คือรอยแผลเป็นบุ๋มลึกจากสิวซึ่งเกิดจากกระบวนการซ่อมแซมตัวเองที่ไม่สมบูรณ์ของผิวหนังหลังเกิดการอักเสบ เมื่อปล่อยไว้นานวันอาการอักเสบจะเริ่มทำลายเซลล์จนเกิดเป็นรอยแผลที่ซ่อมยาก และแน่นอนว่ายิ่งแกะ กด และบีบสิวมากเท่าไหร่ก็ยิ่งทวีลุกลามมากขึ้น อย่างไรก็ดี จากงานวิจัยได้ค้นพบว่า หากเรารักษาอาการอักเสบได้รวดเร็ว จะช่วยย่นกระบวนการอักเสบให้สั้นลง ซึ่งส่งผลให้โอกาสเกิดแผลเป็นลดลงตาม


ประเภทของหลุมสิว


หลุมสิวจัดเป็นรอยแผลเป็นจากสิว (Acne Scar) ชนิดขาดการซ่อมแซมและฟื้นบำรุงให้คืนสู่สภาพสมบูรณ์ ซึ่งสามารถจำแนกแยกย่อยออกเป็น 3 แบบ ได้แก่

Rolling Scars

Rolling Scar เป็นหลุมสิวทรงกลมตื้นปากกว้างขนาดราว 4 มิลลิเมตร มักเรียงตัวขนานกับขอบใบหน้าคล้ายเป็นลูกคลื่นขรุขระ อันเกิดจากการยึดโยงหลุมสิวของพังผืด (Fibrosis) ในชั้นหนังแท้จนปรากฏลักษณะบุ๋มลึกลงไป โดยทั่วไปแพทย์มักรักษาหลุมสิวประเภทดังกล่าวด้วยการตัดเซาะพังผืด (Subcision) ที่ยึดเกาะหลุมสิวใต้ชั้นผิวให้หลุดออกด้วยเข็มขนาดเล็กที่ชื่อ Nokor Needle เพื่อเร่งกระตุ้นผิวหน้าให้เกิดการสร้างคอลลาเจนมาทดแทนส่วนหลุมสิวที่เกิดการบาดเจ็บ

Boxcar Scars

ถัดมาเป็นหลุมสิวทรงกลมลึกสลับตื้นบ่อกว้าง 3 – 5 มิลลิเมตร ซึ่งมักเกิดจากสิวอักเสบทั่วไปหรือเกิดจากปัจจัยอื่น เช่น โรคอีสุกอีใส เป็นต้น อย่างไรก็ตาม กรณีที่เป็น Boxcar Scars ชนิดตื้นจะสามารถรักษาด้วยการใช้เลเซอร์ช่วยผลัดเซลล์ผิว ทว่าหากเป็นหลุมสิวขนาดลึกลงไปสามารถใช้วิธีการอื่นตามดุลยพินิจของแพทย์

Ice Pick Scar

หลุมสิวทรงกรวยลึกขนาดเล็กไม่เกิน 2 มิลลิเมตร ซึ่งพบเห็นได้บ่อยตามแก้ม โดยมากมีสาเหตุมาจากการกดบีบสิวอุดตันจนเกิดภาวะอักเสบ ครั้นเมื่อสิวเริ่มทุเลาอาการลงจะเริ่มทิ้งรอยแผลซึ่งรุนแรงและรักษายาก โดยอดีตแพทย์มักนิยมใช้วิธีการผ่าตัดเย็บปิดหลุมสิว (Punch Excision)

อย่างไรก็ตาม การรักษาสิวแต่ละประเภทขึ้นอยู่กับลักษณะ ระดับความรุนแรงของอาการ ร่วมกับวิทยาการสมัยใหม่และดุลยพินิจของแพทย์เป็นสำคัญ ปัจจุบันมีเทคโนโลยีหลากหลายชนิดพร้อมตอบโจทย์ปัญหาหลุมสิวถึงต้นตออาการได้มีประสิทธิภาพ ซึ่งเราจะกลับมาพูดถึงเรื่องนี้ในภายหลัง


รักษาหลุมสิว

ป้องกันการเกิดหลุมสิวได้อย่างไร


ควรเริ่มป้องกันตั้งแต่ตอนที่ยังไม่เป็นสิว หรือขณะที่เป็นสิวหรือแผลอยู่ ซึ่งเราสามารถแบ่งเป็น 2 กรณี ได้แก่ กรณีก่อนและหลังเกิดสิว

กรณีก่อนเป็นสิว

  • ล้างใบหน้าให้สะอาดทุกครั้ง
  • เลี่ยงการนอนดึก ปล่อยกายใจให้ผ่อนคลายลดความเครียด
  • ลดการรับประทานอาหารที่ก่อการอักเสบของผิว เช่น ของหวาน ของมัน ของทอด เนื่องจากกระตุ้นฮอร์โมนให้สร้างไขมันบนหน้าจนเกิดปัญหาสิวตามมา
  • เลือกใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวและกันแดดชนิดที่ไม่มีส่วนผสมซึ่งก่อภาวะรูขุมขนอุดตัน (Non-comedogenic)

กรณีหลังเป็นสิว

  • ล้างใบหน้าให้สะอาดทุกครั้ง
  • หลีกเลี่ยงสัมผัสหรือกดบีบสิวบนใบหน้าขณะเกิดสิว เพราะอาจทำให้สิวอักเสบหรือติดเชื้อได้
  • ควรพบแพทย์ผิวหนังเพื่อประเมินอาการและหาวิธีรักษาปัญหาได้ตรงจุด

รักษาหลุมสิว

เราสามารถรักษาหลุมสิวด้วยวิธีใดบ้าง


การรักษาหลุมสิวทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับประเภทของหลุมสิว ความรุนแรงของอาการ ตำแหน่งที่ปรากฏและการประเมินของแพทย์ผู้ชำนาญการว่าสภาพผิวของผู้เข้ารับการรักษาเหมาะสมจะรักษาด้วยวิธีการใดบ้างเพื่อได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ เราได้รวบรวมตัวนวัตกรรมรักษาหลุมสิวไว้หลากหลายประเภทด้วยกัน

1. การผ่าตัดหลุมสิว (Acne Scar Surgery)

สามารถแยกย่อยได้หลากหลายวิธี ทว่าวิธีที่นิยมใช้รักษาหลุมสิวผ่านการผ่าตัดมี 2 วิธี ได้แก่

  • Subcision: การตัดเซาะพังผืดใต้ชั้นผิวที่ยึดเกาะหลุมสิวให้หลุดออกด้วยเข็มขนาดเล็กที่ชื่อ Nokor Needle หรือตามที่แพทย์เห็นสมควรสำหรับเพิ่มประสิทธิภาพการรักษา เพื่อเร่งกระตุ้นผิวหน้าให้เกิดการสร้างคอลลาเจนมาทดแทนส่วนหลุมสิวให้ตื้นจาง
  • Punch Excision: การผ่าตัดรอยหลุมสิวให้มีขนาดเล็ก ก่อนตัดเนื้อบริเวณอื่นมาห่มคลุมหลุมสิวและเย็บปิดร่องรอยให้เสมอกับพื้นผิวบริเวณอื่น

รักษาหลุมสิว

2. การผลัดเซลล์ (Resurfacing Procedures)

กรอผิวด้วยเกล็ดอัญมณี (Microdermabrasion)

การกรอผิวด้วยเกล็ดอัญมณี (Microdermabrasion) จัดเป็นนวัตกรรมหนึ่งซึ่งช่วยลดเลือนรอยหลุมที่ตื้นมาก ๆ ให้จางได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพียงอาศัยแรงดันอากาศความเร็วสูงพัดพาอณูเกล็ดอลูมิเนียมออกไซด์ (Aluminium Oxide) ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า 100 ไมครอนคอยช่วยผลัดเซลล์ผิวตายจากชั้นหนังกำพร้าได้อย่างอ่อนโยน ไม่ก่อเกิดรอยแผลและอาการเจ็บแม้เป็นผู้มีสภาพผิวบาง

ปรับสภาพผิวด้วยเลเซอร์ (Laser Skin)

การบำบัดด้วยเลเซอร์หรือ Light Treatment เป็นแนวทางรักษาปัญหาบนใบหน้าประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นนวัตกรรมที่มีอานุภาพทำลายเม็ดสีให้เล็กละเอียดพร้อมขจัดปัญหาผิวอื่น เช่น ฝ้า กระ รอยสัก รอยแตกลาย หลุมสิว เหล่านั้นอาจเป็น CO2 Fractional Laser,  Pico Laser, Fractional Erbium Laser และอื่น ๆ ซึ่งแพทย์อาจเลือกใช้ตามสภาพอาการของผู้เข้ารับการรักษา


รักษาหลุมสิว

เทคโนโลยีคลื่นวิทยุ (Fractional RF)


Fractora

Fractora เป็นเทคโนโลยีคลื่นความถี่วิทยุแบบแฟรกชั่นนอล (Fractional radio-frequency) ซึ่งไขปัญหาโครงสร้างผิว เช่น หลุมสิว แผลเป็น ทั้งยังกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและเร่งผลัดเซลล์ที่หย่อนคล้อยกลับคืนกระชับ ริ้วรอยอ่อนจาง พร้อมเลือนแผลเป็นและหลุมสิวให้เบาบางแลกลมกลืนกับผิวเรียบบริเวณอื่น

Morpheus8

Morpheus8 เป็นเทคโนโลยีคลื่นความถี่วิทยุกระชับผิวร่วมลดขนาดหลุมสิวตัวถัดมาที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) ให้เป็น Fractional Technology ที่เข้าถึงชั้นผิวได้ลึกที่สุดผ่านเข็มทองคำขนาดเล็กกว่า 24 เล่มคอยปรนนิบัติปัญหาผิวให้เรียบเนียนขึ้นโดยไม่ต้องผ่าตัด

Venus Viva

หากพูดถึงเทคโนโลยีคลื่นวิทยุคุณภาพซึ่งรวม 2 นวัตกรรมไว้ในหนึ่งเดียว Venus Viva จัดเป็นหนึ่งทางเลือกสำหรับรักษาริ้วรอยและหลุมสิวได้ตรงลึกถึงต้นตอ ด้วยประสิทธิภาพการทำงานของเทคโนโลยี Nano Fractional Radio Frequency ร่วมกับ Smart Scan Technology ทำให้วีนัส วีว่าสามารถส่งพลังงานความร้อนได้ลึกถึงชั้นผิวหนังแท้ (Dermis) เพื่อกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและไฟโบรบลาสต์ให้เพียงพอต่อการจัดเรียงโครงสร้างเนื้อเยื่อผิวใหม่ได้อย่างดี


3. เทคโนโลยีพลังงานลม

สำหรับใครที่กลัวการผ่าตัดและฉีดสารเติมเต็มด้วยเข็ม EnerJet เป็นหนึ่งในนวัตกรรมความงามชื่อดังในวงการแพทย์ผิวหนังซึ่งตอบโจทย์การใช้รักษาโดยไม่ต้องผิวร้อนและพักฟื้น เพียงอาศัยพลังงานลมแรงดันสูงคอยส่งผ่านสาร Hyaluronic Acid ซึ่งเปรียบเสมือนลูกกระสุนระดับนาโน (Nano-Bullet) นับพันลูกลงผิวชั้นบนตรงบริเวณที่ต้องการรักษา ก่อนแทรกซึมสู่ชั้นเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อบนใบหน้า (SMAS) เพื่อจัดระเบียบโครงสร้างผิวและเสริมความแข็งแรงให้เส้นใยไฟโบรบราสต์ ส่วนสำคัญที่ช่วยผลิตคอลลาเจนและอิลาสตินให้ผิวยืนหยุ่นและนุ่มฟูอย่างอัศจรรย์


รักษาหลุมสิว

4. การฉีดสารเติมเต็ม (Filler)

ฟิลเลอร์ (Filler) หรือการฉีดสารเติมเต็มเป็นหนทางหนึ่งซึ่งช่วยเติมเต็มตัวหลุมสิวให้ดูตื้นกลืนกับผิวเรียบบริเวณอื่น ซึ่งสารเติมเต็มที่แพทย์ใช้จะอยู่ในรูปแบบของไขมัน (Fat Graft) Polylactic Acid หรือสารสังเคราะห์อย่าง Hyaluronic Acid ที่คงสภาพได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ก่อนสูญสลายจากใบหน้าไปตามกาล

เพื่อคงสภาพผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพและยาวนาน การเก็บงานริ้วรอยหลุมร่องลึกบนใบหน้าด้วย Polynucleotide (PN) สารสกัดจาก Salmon DNA ก็เป็นทางเลือกหนึ่งซึ่งช่วยไขปัญหาหลุมสิวผ่านการซ่อมแซมเซลล์ผิวจากแผลเป็นให้เรียบเนียนและเปล่งปลั่งทุกองศาได้รวดเร็วถาวร

5. การใช้ Exosome

Exosome เป็นนวัตกรรมโมเลกุลอนุภาคนาโนขนาดเล็กซึ่งมีส่วนประกอบหลากหลายทั้ง mRNA, miRNA และโปรตีนสำคัญต่าง ๆ เช่น Growth Factor, Cytokines มีบทบาทคอยกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวใหม่ ซึ่งยังเป็นตัวช่วยใช้ควบคู่กับการรักษาแบบอื่นเพื่อแก้ปัญหาหลุมสิว เพิ่มทวีจำนวนเซลล์ สร้างเกราะปราการป้องกันผิว (Skin Barrier) ทั้งยังช่วยลดอาการแพ้ อักเสบ ฟื้นฟูเซลล์ผิวให้นุ่มชุ่มชื้น ยืดหยุ่น และอิ่มฟูดูเด็กลง


รักษาหลุมสิว

มีผลข้างเคียงหรือไม่


ผลข้างเคียงสามารถเกิดขึ้นได้มากน้อยหรือแตกต่าง ล้วนขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีที่เลือกใช้รักษา โดยทั่วไปการรักษาบางวิธี เช่น การใช้กรดผลไม้ หรือกรดบางอย่างที่มีอานุภาพซึมลึก ซึ่งอาจก่อการติดเชื้อ รอยแดง รอยดำ แผลเป็นช้ำ และเกิดสิวขึ้นได้อีกหากการรักษาดังกล่าวมิได้รับการควบคุมโดยแพทย์ผิวหนังชำนาญการ นอกจากนี้การดูแลตัวเองหลังการรักษาก็มีส่วนให้เกิดผลข้างเคียงได้เช่นกัน ทั้งนี้หากผ่านการใช้ยารักษาสิว (Isotretinoin) ควรแข้งแพทย์ผิวหนังก่อนรับการรักษา


แหล่งอ้างอิง

หนังสือ

อัจจิมา สุวรรณจินดา. (2566). อ่านทันก็...Young ดี. พิมพ์ครั้งที่ 1, สืบค้นเมื่อ 10 พฤกษภาคม 2566

กรุงเทพฯ: มาสเตอร์ สไตล์, 2566

เว็บไซต์

https://www.researchgate.net/publication/283194598_ACNE_SCARS_A_NEW_APPROACH<
https://www.aad.org/public/diseases/acne/derm-treat/scars/treatment




สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้