สาระน่ารู้เมดดิไซน์: ออฟฟิศซินโดรม โรคร้ายของคนทำงาน

ออฟฟิศซินโดรม

ออฟฟิศซินโดรม โรคร้ายของคนทำงาน


88% ของคนวัยทำงานเป็น “ออฟฟิศซินโดรม” อาการแบบไหน? เข้าข่ายออฟฟิศซินโดรม

  • ปวดไมเกรน
  • ปวดหลัง-ไหล่-คอ
  • นิ้วมือชา


ออฟฟิศซินโดรม

ออฟฟิศซินโดรมเกิดอาการเป็นแบบไหนและมาจากอะไร ?


อาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืดอันเนื่องมาจากการใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำ ๆ ต่อเนื่องกันเป็นเวลานานซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้อาจลุกลามเป็นอาการปวดเรื้อรัง ดังนั้นการไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและวางแผนการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดออฟฟิศซินโดรมได้

โดยมีสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้มีโอกาสเกิดกลุ่มอาการดังกล่าว ได้แก่

  • ท่าทางการทำงาน (Poster) เช่น ลักษณะท่านั่งทำงาน การวางมือ ศอก บนโต๊ะทำงานที่ไม่ถูกต้อง
  • การบาดเจ็บจากงานซ้ำ ๆ (Cumulative Trauma Disorders) หรือระยะเวลาในการทำงานที่มากเกินไป ทำให้ร่างกายเกิดการล้า เช่น การใช้ข้อมือซ้ำ ๆ ในการใช้เมาส์ อาจทำให้เกิดการอักเสบของเอ็นบริเวณข้อมือ หรือพังผืดเส้นประสาทบริเวณข้อมือได้
  • สิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น ลักษณะโต๊ะทำงาน หน้าจอคอมพิวเตอร์ แสงสว่างในห้องทำงาน
  • อาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome) โดยเฉพาะปวดบริเวณคอ บ่า สะบัก ซึ่งบางครั้งอาจส่งผลทำให้เกิดอาการของระบบประสาทอัตโนมัติร่วมด้วย เช่น วูบ เหงื่อออก ตาพร่า หูอื้อ มึนงง ชา เป็นต้น
  • การอักเสบของเส้นเอ็นบริเวณข้อศอก ข้อมือ นิ้วมือ เช่น การอักเสบของเอ็นโคนนิ้วโป้ง (De Quervain’s Disease) นิ้วล็อก (Trigger Finger)
  • การกดทับปลายประสาท ทำให้เกิดอาการชา รวมถึงอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ ถ้าหากรุนแรง (Nerve Entrapment) เช่น พังผืดทบเส้นประสาทข้อมือ (Carpal Tunnel Syndrome) พังผืดทับเส้นประสาทบริเวณข้อศอก (Cubital Tunnel Syndrome)


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้