โปรแกรมรักษาโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง

โปรแกรมรักษาโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง

          โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis) มีลักษณะเป็นผื่นเรื้อรังบริเวณแก้ม ลำคอ ข้อพับแขน แขน มือ และเท้า แต่ผื่นในเด็กมักมีอาการรุนแรงกว่าในผู้ใหญ่ สาเหตุหลักเกิดจากการอักเสบของผิวหนัง ซึ่งอาจจะมีสาเหตุจากทั้งภายนอกและภายในร่างกาย ได้แก่

  • สาเหตุภายในร่างกาย ได้แก่ การอักเสบภายในร่างกาย ท้องผูกเรื้อรัง เครียด นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ภูมิแพ้อาหาร ภูมิต้านทานร่างกายต่ำ

  • สาเหตุภายนอก ได้แก่ การเกิดปฏิกิริยาระหว่างผิวหนังกับสารเคมีที่สัมผัสกับผิวหนัง ทำให้เกิดการระคายเคือง ผิวแห้ง และเกิดผื่นแพ้ตามมาได้ สารเคมีเหล่านี้ ได้แก่ เครื่องสำอาง น้ำหอม ผงซักฟอก



          ถึงแม้ว่าโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังนี้จะเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ แต่หากปฏิบัติตามคำแนะนำและดูแลผิวอย่างถูกต้องก็จะช่วยทำให้อาการต่าง ๆ ของโรคบรรเทาลง และหายได้เร็วขึ้น ซึ่งควรปฏิบัติตนตามคำแนะนำดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ทำให้เกิดภูมิแพ้อาหารอย่างเคร่งครัด เพราะการรับประทานอาหารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้จะยิ่งส่งผลกระทบต่อระบบภูมิต้านทานของร่างกาย ทำให้อาการแย่ลงได้

  • งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

  • ควรนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง

  •  หาวิธีจัดการกับความเครียด เนื่องจากความเครียดจะกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมน Corticotropin และ Cortisol ซึ่งส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานบกพร่องได้

  • หลีกเลี่ยงการล้างมือบ่อย ๆ หรืออาจจะทาครีมบำรุงผิวที่ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวสูตรอ่อนโยนโดยไม่ระคายเคืองผิว

  • พยายามขับถ่ายเป็นประจำทุกวัน เพื่อลดการสะสมสารพิษในร่างกาย

  • เนื่องจากผู้ที่เป็นโรคนี้มักมีระดับกรดไขมันจำเป็นต่ำ จึงควรเพิ่มการรับประทานกรดไขมันจำเป็นที่ช่วยลดการอักเสบ ได้แก่ กรดไขมันกลุ่มโอเมกา - 3 (Omega - 3) ที่พบในน้ำมันปลา น้ำมันเมล็ดป่าน

  • หลีกเลี่ยงสารปรุงแต่งในอาหาร เช่น สารกันบูด สารแต่งกลิ่น

  • หลีกเลี่ยงรังสี UVA และ UVB ในแสงแดด

  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาย้อมผม

  • เน้นการรับประทานอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลและไขมันอิ่มตัวต่ำ ได้แก่ ผัก ผลไม้ ถั่ว

     

 
กรณีที่มีปัญหารอยดำจากการเป็นผื่นแพ้ผิวหนัง สามารถรักษาได้หลายวิธี ได้แก่

  • การทาครีมปรับสภาพผิวที่มีส่วนผสมของสารไวท์เทนนิ่ง เช่น สารสกัดจากรากชะเอม (Licorice) สารสกัดจากมะขามป้อม ขมิ้น และวิตามินซี อาร์บูติน เรตินอล หรือกลุ่มซาลิไซลิกแอซิด อะเซเลอิกแอซิด

  • การทาครีมกันแดด ควรทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF อย่างน้อย 30 เป็นประจำทุกวัน เพื่อป้องกันไม่ให้รอยด่างดำเข้มขึ้นหรือเกิดรอยด่างดำใหม่ขึ้นอีก

  • การใช้กรดผลไม้ (AHA) ซึ่งเป็นเอนไซม์จากผลไม้ มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ ทำให้เซลล์ชั้นบนของผิวลอกออก และมีการสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมา ทำให้ผิวดูขาวขึ้น จึงช่วยให้รอยดำจางลงได้ แต่ควรทำโดยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพื่อป้องกันการเกิดข้อแทรกซ้อน เช่น การระคายเคืองผิว แต่ในกรณีของคุณฐาปนีย์ที่มีปัญหาผื่นแพ้สัมผัส (Contact dermatitis) อาจต้องใช้ความระมัดระวังในการรักษาสูงขึ้น

  • การผลักยาเข้าสู่ผิว โดยใช้กระแสไฟฟ้าที่อ่อนโยนต่อผิว ร่วมกับการใช้คลื่นเสียงอัลตราซาวนด์ในการนำพาสาร เช่น กรดวิตามินเอ วิตามินซีที่มีฤทธิ์ช่วยลดรอยด่างดำของผิวได้

  • การใช้เลเซอร์กลุ่ม Nd Yag 532 หรือ 1064 nm ความยาวคลื่นยาว หรือเลเซอร์ที่มีความจำเพาะต่อเม็ดสี หรือแสงเข้มข้น IPL เพื่อช่วยลดรอยด่างดำและปรับสีผิวให้สม่ำเสมอ เป็นวิธีที่ช่วยลบรอยดำได้เร็วที่สุด


 ข้อมูลคลินิก เมดดิไซน์ ยินดีให้บริการ Work with Heart 
  Phone : 02-954-9440
           (เวลา 9:00-17:00 น.)
     Mobile : 089-900-6100
    Line : @medisci หรือ คลิก
   ลงทะเบียน : คลิก
Website : www.mediscicenter.com
  Location คลิก
 มีที่จอดรถรองรับ  

 ติดตามสาระน่ารู้ใหม่ๆได้ที่
Facebook: Medisci Anti-Aging

twitter: Medisci Anti-Aging

instagram: medisci

blockdit: คุยกับหมออัจจิมา

Youtube: คุยกับหมออัจจิมา

 
Podbean คุยกับหมออัจจิมา

Spotify คุยกับหมออัจจิมา
 
G
oogle Podcasts คุยกับหมออัจจิมา
 
Apple Podcasts คุยกับหมออัจจิมา
 
Soundcloud คุยกับหมออัจจิมา

 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้