การตรวจประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านมด้วยวิธีง่าย ๆ ที่คุณอาจจะคาดไม่ถึง โดยการตรวจวัดค่าของสารที่เปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจนในรูปแบบต่าง ๆ ที่ถูกขับออกมาทางปัสสาวะ ช่วยตรวจประเมินความเสี่ยงและป้องกันการเกิดโรคมะเร็งเต้านมในผู้หญิงทั่วไปและผู้ชายอ้วนลงพุง ทางการแพทย์ยังนิยมใช้การตรวจชนิดของเอสโตรเจนในปัสสาวะ (Estrogen Cancer Risk) เพื่อใช้ในการบอกความเสี่ยงตั้งแต่เริ่มแรก และเป็นการตรวจประเมินความเหมาะสมก่อนการได้รับฮอร์โมนทดแทน (HRT) ในหญิงวัยหมดประจำเดือน และใช้ตรวจเพื่อการติดตามผลต่อความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งเต้านมหลังการได้รับฮอร์โมนทดแทน
จากข้อมูลตัวเลขทางการแพทย์พบว่าในปัจจุบันประเทศไทยพบผู้หญิงเป็นโรคมะเร็งเต้านมมากเป็นอันดับสองรองจากมะเร็งปากมดลูก และนับวันก็ยิ่งจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในเมืองใหญ่พบว่า 1 ใน 10 ของผู้หญิง มีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งเต้านมในช่วงหนึ่งของชีวิต
ความน่ากลัวของโรคมะเร็งเต้านมอยู่ที่ ระยะเริ่มแรกแทบไม่แสดงอาการใด ๆ ยิ่งถ้ามีขนาดเล็กกว่า 1 เซนติเมตร แทบไม่สามารถคลำได้เลย ความรู้และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าขึ้น การตรวจด้วยวิธีแมมโมแกรม ซึ่งมีประโยชน์ในการตรวจหามะเร็งเต้านมขนาดเล็ก เพื่อรักษาตั้งแต่แรกเริ่มก่อนมะเร็งร้ายลุกลามช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิต อย่างไรก็ตามอัตราการเกิดมะเร็งเต้านมกลับสูงขึ้นและพบในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยลง แม้แต่ในวัยช่วงอายุ 15-25 ปี ซึ่งไม่ปรากฏมาก่อนในอดีต
สาเหตุสำคัญของการเกิดโรคมะเร็งเต้านมนั่นคือ พันธุกรรม ถ้าบุคคลใดบุคคลหนึ่งในครอบครัวมีประวัติป่วยด้วยโรคนี้ ก็จะมีโอกาสเสี่ยงที่คนในครอบครัวเดียวกันจะเป็นโรคนี้ได้มากกว่าคนที่ไม่มีประวัติในครอบครัว แต่ไม่ได้หมายความว่าคนที่ไม่มีประวัติครอบครัวจะรอดพ้นจากมะเร็งเต้านมได้ 100% เพราะยังมีปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมภายนอกที่กระตุ้นให้เกิดมะเร็งได้อีกมากมาย อาทิเช่น การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ผู้ที่เป็นโรคอ้วนโดยเฉพาะช่วงหลังหมดประจำเดือน การได้รับสารรังสีเอกซเรย์ในปริมาณสูงเป็นประจำ และการใช้ฮอร์โมนทดแทน (hormone replacement therapy) นอกจากนี้ยังพบข้อมูลทางการแพทย์อีกประการหนึ่งที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน นั่นคือ ไม่ใช่ว่าโรคร้ายนี้จะเกิดเฉพาะแต่ในผู้หญิงเท่านั้น คุณ ๆ คงนึกไม่ถึงว่าพวกคุณผู้ชายก็มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน โดยเฉพาะผู้ชายที่อ้วนลงพุงและมักจะมีเต้านมโตร่วมด้วย เนื่องจากปริมาณของไขมันที่สูงส่วนหนึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจน ร่างกายสามารถเปลี่ยนฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจนให้เป็นสารต่าง ๆ ได้หลายชนิด ซึ่งมีผลต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านมได้ ดังการศึกษาของมหาวิทยาลัย Rockefeller ที่พบว่า 2-hydroxyestrone มีแนวโน้มที่จะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของมะเร็ง ขณะที่ 16-a-hydroxyestrone จะเร่งการเจริญเติบโตของมะเร็ง
ข้อมูลคลินิก เมดดิไซน์ ยินดีให้บริการ Work with Heart
Phone : 02-954-9440
(เวลา 9:00-17:00 น.)
Mobile : 089-900-6100
Line : @medisci หรือ คลิก
ลงทะเบียน : คลิก
Website : www.mediscicenter.com
Location คลิก
มีที่จอดรถรองรับ
ติดตามสาระน่ารู้ใหม่ๆได้ที่
Facebook: Medisci Anti-Aging
twitter: Medisci Anti-Aging
instagram: medisci
blockdit: คุยกับหมออัจจิมา
Youtube: คุยกับหมออัจจิมา
Podbean คุยกับหมออัจจิมา
Spotify คุยกับหมออัจจิมา
Google Podcasts คุยกับหมออัจจิมา
Apple Podcasts คุยกับหมออัจจิมา
Soundcloud คุยกับหมออัจจิมา