นอนดึกบ่อยเสี่ยงทำให้หยุดสูง???

นอนดึกไม่สูง

นอนดึกบ่อย เสี่ยงหยุดสูงได้จริงหรือ?


โดยปกติ "ส่วนสูง" ของเรา ถูกกำหนดได้ทั้งในเรื่องของพันธุกรรม เชื้อชาติ ความสูงของพ่อ-แม่ และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ การออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร ความเครียด และอีกหนึ่งปัจจัยที่ได้รับการยืนยันจากงานวิจัยว่าส่งผลอย่างมากต่อความสูงของเด็ก โดยเฉพาะในช่วงที่กำลังเข้าสู่วัยรุ่น ก็คือในเรื่องของ "การนอนหลับ" นั่นเอง


นอนดึกไม่สูง

'Growth Hormone' ส่วนสำคัญที่ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต


ในเวลาที่นอนหลับ ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนออกมา ที่ชื่อว่า "โกรทฮอร์โมน" ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญที่ช่วยในเรื่องของการเจริญเติบโต และส่งผลต่อความสูงทั้งในช่วงวัยเด็กและวัยรุ่น ซึ่งโดยปกติแล้ว "โกรทฮอร์โมน" จะถูกหลั่งออกมาในช่วงที่เราหลับสนิท และหลั่งมากที่สุดในช่วงเวลา 23.00-02.00 น.

ดังนั้นคนที่นอนดึกมาก ๆ โดยเฉพาะในเวลาหลังเที่ยงคืน ก็จะส่งผลให้โกรทฮอร์โมนหลั่งน้อยลง และหากนอนดึกเป็นประจำในระยะยาวก็จะส่งผลต่อความสูงได้

เทคนิคหรือวิธีการนอนที่จะช่วยกระตุ้น "โกรทฮอร์โมน" ได้ดีที่สุด คือการเข้านอนก่อนเวลา 4 ทุ่ม หรือ 22.00 น. เพื่อที่จะทำให้ร่างกายหลับสนิทในช่วงที่โกรทฮอร์โมนหลั่งพอดี และควรนอนหลับอย่างน้อย 8 ชั่วโมงต่อคืน ซึ่งในเทคนิคนี้ยังส่งผลดีต่อวัยผู้ใหญ่ด้วย ถึงแม้ว่าในวัยผู้ใหญ่ "โกรทฮอร์โมน" จะไม่ได้ส่งผลต่อความสูง แต่จะส่งผลในเรื่องของการ "ชะลอวัย" ทำให้หน้าดูเด็ก และสุขภาพดีขึ้นอีกด้วย


 

ข้อมูลโดย: พญ.นฤมล ทองศรีเนียม

เรียบเรียงโดย: Medisci


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้