เมื่อพูดถึงเกลือ หลายคนจะนึกถึงเกลือที่ใช้ใส่อาหาร แต่ในทางการแพทย์
เกลือ เป็นสารประกอบ 2 ตัวคือ โซเดียม และ คลอไรด์ ในเกลือมีโซเดียม
เป็นส่วนประกอบร้อยละ 40% ส่วนคลอไรด์เป็นส่วนประกอบอีก 60% ดังนั้น
ในเกลือ 1 กรัม จะมีโซเดียม 0.4 กรัม หลายๆคนคิดว่าโซเดียม คือสารที่มี
รสเค็ม แต่แท้จริงแล้วโซเดียมยังมีอยู่ในส่วนประกอบอีกมากมายซึ่ง
ไม่มีรสชาติ หากต้องการจะหลีกเลี่ยงพิษของโซเดียม คงไม่ใช่แค่การไม่ทาน
เกลือ เพราะโซเดียม มีอยู่ในอาหารเกือบทุกอย่างที่ใส่สารปรุงรส ไม่ว่าจะเป็น
น้ำปลา ซีอิ๊ว ซอสปรุงรสต่างๆ ผงชูรส (โมโนโซเดียมกลูตาเมต) หรือแม้กระทั่ง
ผงฟู (โซเดียมไบคาร์บอเนต) ล้วนเป็นโซเดียมทั้งนั้น
ในชีวิตประจำวันของเรา ทั้งอาหาร ขนม ผลไม้ต่างๆ ถูกแวดล้อมไปด้วย
เกลือ คนไทยมีการบริโภคเกลือสูงเกิน 4,000 มิลลิกรัม/วัน จากค่าเฉลี่ย
มาตรฐาน ไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัม/วัน ร่างกายคนเราไม่สามารถสร้างโซเดียม
ได้ นอกจากการรับประทานอาหาร แท้จริงแล้วโซเดียมเป็นสารที่สำคัญต่อ
ร่างกาย โซเดียมจะทำงานควบคู่กับโปแตสเซียม ในการรักษาสมดุลความ
กรด-ด่าง ของร่างกาย รักษาการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ
ในร่างกาย